Forgot your password? Create an account
  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
News

Stockwave Online กระแสหุ้นออนไลน์ หุ้น หลักทรัพย์ การเงิน ข่าวเศรษฐกิจ

Home Economic View สรุปประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินรายวัน - ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย
สรุปประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินรายวัน - ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย PDF Print E-mail
Wednesday, 18 April 2018 10:17

สถานการณ์เศรษฐกิจต่างประเทศ

รายงานครึ่งปีของกระทรวงการคลังสหรัฐฯได้เพิ่มอินเดียเข้าไปเป็นอีกประเทศที่ต้องจับตาว่ามีการบิดเบือนค่าเงินหรือไม่ ส่งผลให้มีทั้งหมด 6 ประเทศที่สหรัฐฯจับตาว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีการบิดเบือนค่าเงิน ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ จีน และอินเดีย ขณะที่ยังไม่มีการประกาศชัดเจนว่าประเทศใดที่บิดเบือนค่าเงิน ขณะเดียวกันรายงานดังกล่าวชี้ถึงความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะมีการเพิ่มรายชื่อประเทศที่จะถูกตรวจสอบในอนาคต ทั้งนี้ตามเกณฑ์ของสหรัฐฯจะมีการตรวจสอบประเทศคู่ค้าว่ามีการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำให้เกิดความได้เปรียบอย่างไม่เป็นธรรมต่อสหรัฐฯหรือไม่ โดยเกณฑ์ดังกล่าวได้แก่ 1. มีการเกินดุลการค้าต่อสหรัฐฯเกิน 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี 2. มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเกิน 3% ของ GDP และ 3.มีการแทรกแซงค่าเงินอย่างต่อเนื่องจนส่งผลให้มียอดซื้อสุทธิเงินสกุลต่างประเทศสะสมสูงกว่า 2% ของ GDP ในปีที่ผ่านมา ซึ่งผลออกมาว่าในช่วงที่ผ่านมาญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และอินเดีย เข้าเกณฑ์ข้างต้น 2 จาก 3 ข้อ โดยอินเดียเข้ามาอยู่ในกลุ่มที่ถูกจับตาในปีนี้เนื่องจากอินเดียมีการเกินดุลการค้าต่อสหรัฐฯสูงอย่างมีนัยสำคัญ และมีการแทรกแซงค่าเงินด้วยการซื้อเงินสกุลต่างประเทศมากขึ้นในปีที่ผ่านมา ขณะที่จีนเข้าข่าย 1ข้อจาก 3 ข้อ แต่ว่าจีนมีการเกินดุลการค้าต่อสหรัฐฯเป็นมูลค่าที่สูงมากเมื่อเทียบกับยอดขาดดุลการค้าทั้งหมดของสหรัฐฯ

สำนักข่าวเกียวโดรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป (EU) เตรียมลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีในเดือนก.ค.นี้ ซึ่งเป็นช่วงการประชุมสุดยอดประจำปีที่จะจัดขึ้นที่กรุงบรัสเซลส์ และนับเป็นขั้นตอนการดำเนินการที่จะทำให้ข้อตกลงมีผลบังคับใช้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิถัดไป สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ทั้ง 2 ฝ่าย อยู่ในระหว่างการพิจารณาเรื่องการจัดการประชุมสุดยอดในวันที่ 11 ก.ค. ด้วยความหวังที่จะทำให้ข้อตกลงมีผลบังคับใช้ ซึ่งจะทำให้เกิดกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก  และคาดว่า จะมีการเน้นไปที่ความสำคัญของการค้าเสรีท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับลัทธิปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ จากการเจรจาต่อรองที่ได้มีการสรุปไปเมื่อเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว ญี่ปุ่นจะยกเลิกการจัดเก็บภาษี 94% ของสินค้านำเข้าทั้งหมดจาก EU ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์และประมง การปรับลดภาษีดังกล่าว จะทำให้ราคาชีส เนื้อหมู และไวน์ของยุโรปในตลาดญี่ปุ่นถูกลง แม้ว่าเกษตรภายในประเทศจะกังวลเกี่ยวกับการหลั่งไหลเข้ามาของผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการแข่งขัน

สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ปรับเพิ่มแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่นเป็น "เชิงบวก" จากเดิม "มีเสถียรภาพ" เนื่องจากคาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งจะส่งผลดีต่อฐานะการคลังของประเทศในช่วง 3-4 ปีข้างหน้าสำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า S&P ได้เปลี่ยนการคาดการณ์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่ปรับลดแนวโน้มอันดับลงเมื่อเดือนก.ย.2558 โดย S&P ยังคงอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของญี่ปุ่นที่ A+

สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2561 ขยายตัว 6.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี  นายซิง จือหง โฆษก NBS ได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่า "เศรษฐกิจจีนมีการเริ่มต้นที่ดีในปีนี้" พร้อมระบุว่า แรงผลักดันทางเศรษฐกิจมีความคืบหน้าด้วยดีและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีคุณภาพและศักยภาพนายซิงยังกล่าวด้วยว่า อัตราการขยายตัวของ GDP ยังคงอยู่ในกรอบ 6.7%-6.9% เป็นเวลา 11 ไตรมาส ขณะที่อัตราว่างงานและเงินเฟ้อยังคงมีเสถียรภาพ ส่วนการค้าต่างประเทศของจีนมีความสมดุลมากยิ่งขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้ โดยยอดนำเข้ามีการขยายตัวมากกว่าการส่งออก และยอดเกินดุลการค้าก็ปรับตัวลดลง

สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า การลงทุนของภาคเอกชนในจีนขยายตัว 8.9% ในไตรมาส 1/2561 เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้การลงทุนในด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในไตรมาส 1/2561 ขยายตัว 10.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 2.1291 ล้านล้านหยวน หรือ 3.392 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในช่วงไตรมาส 1/2561 ขยายตัว 7.5% สู่ระดับ 10.0763 ล้านล้านหยวน หรือ 1.60545 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ยอดค้าปลีกไตรมาส 1/2561 ขยายตัว 9.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่วนยอดค้าปลีกในเดือนมี.ค ขยายตัว 10.1% เทียบรายปี การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมี.ค. ขยายตัว 6.0% เมื่อเทียบเป็นรายปี

กระทรวงพาณิชย์จีนเปิดเผยว่า การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (ODI) นอกภาคการเงินของจีน ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในไตรมาสแรก รายงานระบุว่า นักลงทุนจีนลงทุนโดยตรงในต่างประเทศนอกภาคการเงินคิดเป็นมูลค่า 2.55 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯในบริษัทที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศจำนวน 2,023 แห่ง ใน 140 ประเทศและภูมิภาคในช่วงเดือนม.ค.-มี.ค. การลงทุน ODI มีการขยายตัว 24.1% ในไตรมาสแรก เมื่อเทียบรายปี โดยมูลค่าการลงทุน ODI ในประเทศในโครงการ Belt and Road มีการเติบโต 22.4% สู่ระดับ 3.61 พันล้านดอลลาร์ฯ


ปัจจัยต่างประเทศ (18 เมษายน 2561): ตามเวลาประเทศไทย

ประเทศ         ปัจจัย

ญี่ปุ่น          - การส่งออก มีนาคม 2561

- การนำเข้า มีนาคม 2561

- ดุลการค้า มีนาคม 2561

จีน           - ดัชนีราคาบ้าน มีนาคม 2561


Money Market

- ดอลลาร์/บาท วันอังคาร (17 เม.ย.) เงินบาททรงตัวเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงเช้าวันนี้ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯล่าสุดออกมาดี โดยยอดขายปลีกเดือนมีนาคมสูงขึ้นหลังจากลดลงสามเดือนติดต่อกัน ซึ่งการเพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นผลจากการที่ยอดขายรถยนต์และสินค้าราคาแพงอื่นๆที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีช่วงนี้ปัจจัยเรื่องการต่อรองทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับหลายประเทศที่เกินดุลการค้าต่อสหรัฐฯสูงยังกดดันดอลลาร์สหรัฐฯให้มีแนวโน้มอ่อนค่าในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้ล่าสุดในรายงานครึ่งปีของกระทรวงการคลังสหรัฐฯได้เพิ่มอินเดียเข้าไปเป็นอีกประเทศที่ต้องจับตาว่ามีการบิดเบือนค่าเงินหรือไม่ ส่งผลให้มีทั้งหมด 6 ประเทศที่สหรัฐฯจับตาเกี่ยวกับการบิดเบือนค่าเงิน ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ จีน และอินเดีย ขณะที่ยังไม่มีการประกาศชัดเจนว่าประเทศใดที่บิดเบือนค่าเงิน

- ดอลลาร์/เยน วันอังคาร (17 เม.ย.) เงินเยนแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในเช้าวันนี้โดยนักลงทุนจับตาการเจรจากันระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในวันนี้และวันพรุ่งนี้ ขณะที่วันนี้นักลงทุนให้ความสำคัญกับปัจจัยเรื่องการค้าระหว่างประเทศมากขึ้นหลังคลายความกังวลเรื่องเหตุการณ์ในซีเรีย ทั้งนี้รายงานข่าวชี้ว่านักลงทุนกังวลว่าทางการสหรัฐฯจะกดดันญี่ปุ่นในเรื่องการค้าและอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้นหลังจากที่เมื่อวันศุกร์รายงานครึ่งปีของกระทรวงการคลังสหรัฐฯยังคงจัดญี่ปุ่นไว้ในกลุ่มประเทศที่ต้องจับตาต่อไปว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน ขณะที่ล่าสุดเมื่อวันจันทร์ประธานาธิบดีทรัมป์ก็ได้กล่าวหาจีนและรัสเซียว่าจงใจทำให้ค่าเงินของตนอ่อนค่า ซึ่งปัจจัยดังกล่าวข้างต้นกระตุ้นให้มีแรงขายดอลลาร์สหรัฐฯออกมาในช่วงต้นสัปดาห์

- ยูโร/ดอลลาร์ วันอังคาร (17 เม.ย.)  เงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในเช้าวันนี้โดยช่วงนี้หลายปัจจัยยังกดดันค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯต่อเนื่องโดยเฉพาะเรื่องการเจรจาการค้ากับหลายประเทศที่เกินดุลการค้าต่อสหรัฐฯสูง อย่างไรก็ดีดอลลาร์สหรัฐฯปรับแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับยูโรในช่วงตลาดสหรัฐฯ


Capital Market

- ตลาดหุ้นสหรัฐฯวันอังคาร (17 เม.ย.) ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้นเมื่อคืนนี้ ขานรับผลประกอบการที่สดใสของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ ซึ่งรวมถึงเน็ตฟลิกซ์ และยูไนเต็ดเฮลธ์ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ และจากการที่นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในซีเรีย โดยดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,786.63  เพิ่มขึ้น 0.87% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,281.10 เพิ่มขึ้น 1.74% และดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,706.39 เพิ่มขึ้น 1.07%

- ตลาดหุ้นเอเชีย วันอังคาร (17 เม.ย.) ดัชนีนิกเกอิปิดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในวันนี้ โดยตลาดปรับตัวในกรอบแคบๆตลอดทั้งวัน ขณะที่นักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่สหรัฐและญี่ปุ่นจะจัดการประชุมสุดยอดร่วมกันเป็นเวลา 2 วันที่รัฐฟลอริดา ในวันนี้ โดยดัชนีนิกเกอิปิดเพิ่มขึ้น 0.06% มาอยู่ที่ 21,847.59 ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปิดตลาดวันนี้ลดลง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การค้าระหว่างจีนและสหรัฐ แม้ว่า ข้อมูลผิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศไตรมาส 1 ของจีนที่มีการเปิดเผยในวันนี้ จะขยายตัวสูงสอดคล้องคาดการณ์โดยดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปิดลดลง 1.41% ปิดที่ 3,066.80 ดัชนีฮั่งเส็งปิดวันนี้ปรับตัวลดลง ตามทิศทางของตลาดหุ้นจีน เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ โดยดัชนีฮั่งเส็งลดลง 0.83% ปิดวันนี้ที่ 30,062.75

- ตลาดหุ้นไทย วันอังคาร ( 17 เม.ย.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้ปรับตัวลดลงนำโดยหุ้นในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง พาณิชย์ ขนส่ง โดยปิดตลาดวันนี้ SET INDEX ลดลง 11.64 จุด


โดย สำนักวิจัยธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประจำวันที่ 18 เม.ย. 2561

Comments

B
i
u
Quote
Code
List
List item
URL
Name *
Code   
ChronoComments by Joomla Professional Solutions
Submit Comment
 
 

Login

Forgot your password? Create an account
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday4520
mod_vvisit_counterYesterday34804
mod_vvisit_counterAll days167332098

We have: 576 guests online
Your IP: 3.15.5.183
Mozilla 5.0, 
Today: Apr 20, 2024

4147328