สรุปประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินรายวัน - ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย
Print
Thursday, 07 June 2018 10:25

สถานการณ์เศรษฐกิจต่างประเทศ

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐลดลงอย่างมากในเดือนเม.ย. ท่ามกลางการส่งออกที่พุ่งขึ้นเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ ยอดขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ลดลง 2.1% สู่ระดับ 4.62 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว โดยต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 4.9 หมื่นล้านดอลลาร์ และลดลงจากระดับ 4.72 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคม และหากปรับค่าตามเงินเฟ้อ สหรัฐขาดดุลการค้าลดลงสู่ระดับ 7.75 หมื่นล้านดอลลาร์ จากระดับ 7.82 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคม ทั้งนี้ สหรัฐขาดดุลการค้าต่อจีนเพิ่มขึ้น 8.1% สู่ระดับ 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการนำเข้าจากจีนทรงตัวในเดือนเมษายน ขณะที่การส่งออกไปยังจีนลดลง 17.1% ขณะเดียวกันยังเปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 0.3% สู่ระดับ 2.112 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยได้รับแรงหนุนจากการส่งออกเชื้อเพลิง ส่วนการนำเข้าสินค้าและบริการลดลง 0.2% สู่ระดับ 2.574 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ท่ามกลางการลดลงของการนำเข้ารถยนต์,  เครื่องมือด้านการสื่อสาร และสินค้าในครัวเรือน

สื่อต่างประเทศรายงานว่า บริษัท ZTE ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ด้านการสื่อสารของจีน ได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกับสหรัฐวันนี้ โดยระบุว่า กระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะยกเลิกคำสั่งแบน ZTE ขณะที่ทาง ZTE จะต้องจ่ายเงินค่าปรับจำนวน 1.7 พันล้านดอลลาร์

นายปีเตอร์ แพรท สมาชิกคณะกรรมการบริหารของธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า ECB จะทำการหารือกันในสัปดาห์หน้าเกี่ยวกับการถอนตัวจากการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ก่อนหน้านี้ ECB มีมติซื้อพันธบัตรเดือนละ 3 หมื่นล้านยูโรจนถึงเดือนก.ย.เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจยูโรโซน ขณะที่มีการคาดการณ์กันว่า ECB จะยุติมาตรการซื้อพันธบัตรในช่วงสิ้นปีนี้ ทั้งนี้ ECB จะประชุมกำหนดนโยบายการเงินในวันที่ 14 มิ.ย.ที่เมืองริกา ประเทศลัตเวีย

กระทรวงแรงงานของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ค่าจ้างที่แท้จริงของญี่ปุ่นในเดือนเม.ย.อยู่ในระดับที่ทรงตัวเมื่อเทียบเป็นรายปี ขณะที่ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้น 0.8% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 ท่ามกลางสถานการณ์เงินเดือนขั้นพื้นฐานที่ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเร็วๆนี้  ทั้งนี้ญี่ปุ่นพยายามที่จะหลุดพ้นจากภาวะเงินฝืดมาหลาย 10 ปี โดยรัฐบาลได้ผลักดันให้ผู้บริหารของบริษัทต่างๆขึ้นค่าแรง เพื่อให้การใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และสามารถปรับขึ้นราคาสินค้าได้

ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) คาดการณ์ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2561 จะอยู่ที่ระดับ 1.0% ซึ่งลดลง 0.3% จากที่คาดการณ์ไว้ในเดือนม.ค. โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ราคาน้ำมันได้ปรับตัวขึ้นสูงกว่าคาดการณ์ ส่วนในปี 2562 ธนาคารโลกคาดว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะชะลอตัวลงสู่ระดับ 0.8% ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากตัวเลขคาดการณ์ในเดือนม.ค. ขณะเดียวกันคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวเพียง 0.5% ในปี 2563 อันเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รวมทั้งการจ้างงานที่ขยายตัวช้าลง และมาตรการปรับขึ้นภาษีการอุปโภคบริโภคที่มีกำหนดบังคับใช้ในช่วงปลายปี 2561

สำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย (ABS) เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1 ขยายตัว 3.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 2.8% โดยได้ปัจจัยหนุนจากยอดส่งออกที่ฟื้นตัวขึ้น และยังช่วยสนับสนุนมุมมองของธนาคารกลางออสเตรเลียที่คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจภายในประเทศจะแข็งแกร่งขึ้นหากเทียบเป็นรายไตรมาส GDP ไตรมาส 1 ของออสเตรเลียขยายตัว 1% ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 0.9%

ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (repo rate) 0.25% สู่ระดับ 6.25% โดยเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนม.ค.2557 นอกจากนี้ ธนาคารกลางยังได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยข้อตกลงซื้อพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืน (reverse repo) 0.25% สู่ระดับ 6.00% ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ลงคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ 6-0 เห็นชอบต่อมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว

 

ปัจจัยต่างประเทศ (7 มิถุนายน 2561): ตามเวลาประเทศไทย

ประเทศ      ปัจจัย

เยอรมนี      - ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนเม.ย.

EU          - ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2561 (ประมาณการครั้งที่ 3)

USA         - ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

 

ปัจจัยในประเทศ

วันที่          ปัจจัย

8 มิ.ย. 61    ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)

Source: http://www.ryt9.com/s/iq03/2819751om/s/iq03/2814042

 

Money Market

- ดอลลาร์/บาท วันพุธ (6 มิ.ย.) เงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในวันนี้ต่อเนื่องจากเมื่อวานนี้เนื่องจากนักลงทุนคลายความวิตกเกี่ยวกับการเมืองในอิตาลี ชณะเดียวกันปัจจัยเสี่ยงหลายประการก็ยังกดดันค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงนี้แม้ว่าแนวโน้มในการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมวันที่ 12-13 มิถุนายนนี้เป็นปัจจัยหนุนดอลลาร์สหรัฐฯให้มีแนวโน้มแข็งค่าก็ตาม

- ดอลลาร์/เยน วันพุธ (6 มิ.ย.) เงินเยนอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในวันนี้ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันที่ 12-13 มิ.ย.นี้ซึ่งคาดว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งปัจจัยเรื่องแนวโน้มนโยบายการเงินสหรัฐฯยังหนุนดอลลาร์สหรัฐฯให้แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน อย่างไรก็ดีในเดือนนี้ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่อาจจะกดดันดอลลาร์สหรัฐฯให้อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเยนได้ เช่นปัจจัยเรื่องความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับประเทศคู่ค้าสำคัญโดยเฉพาะจีน อีกทั้งในวันที่ 12 มิถุนายนนี้ก็จะมีการเจรจาสุดยอดระหว่างผู้นำสหรัฐฯกับเกาหลีเหนือซึ่งก็ต้องจับตามากเช่นกัน

- ยูโร/ดอลลาร์ วันพุธ (6 มิ.ย.) เงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในวันนี้ต่อเนื่องจากเมื่อวานนี้หลังจากมีรายงานข่าวว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) อาจปรับลดวงเงินซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ขณะที่ประเด็นความกังวลเรื่องการเมืองอิตาลีผ่อนคลายลง แต่ก็ยังต้องจับตาต่อไปเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่อิตาลีที่อาจส่งผลต่อเสถียรภาพของอิตาลีและค่าเงินยูโรในอนาคต

 

Capital Market

- ตลาดหุ้นสหรัฐฯวันพุธ (6 มิ.ย.) ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือนเมื่อคืนนี้ โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มธนาคาร เนื่องจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์หน้า นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยังได้ปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงตัวเลขขาดดุลการค้าที่ลดลง ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 1.40% ปิดที่ 25,146.39 ดัชนี S&P500 เพิ่มขึ้น 0.86% ปิดที่ 2,772.35 และดัชนี Nasdaq สูงขึ้น 0.67% ปิดที่ 7,689.24

- ตลาดหุ้นเอเชีย วันพุธ (6 มิ.ย.) ดัชนีนิกเกอิปิดบวกในวันนี้ โดยได้ปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของเงินเยน และข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ อย่างไรก็ดีดัชนีนิกเกอิปรับตัวขึ้นในกรอบที่จำกัด เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายเนื่องจากยังกังวลต่อปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ยังกดดันตลาดการเงินโลกในเดือนนี้ โดยปิดตลาดวันนี้ดัชนีนิกเกอิเพิ่ม 0.38% มาอยู่ที่ระดับ 22,625.73 หุ้นที่ปรับตัวขึ้นในวันนี้นำโดยหุ้นกลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำมันและถ่านหิน กลุ่มเหมืองแร่ กลุ่มกระดาษและเยื่อกระดาษ ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปิดตลาดวันนี้ทรงตัว โดยเพิ่ม 0.03% ปิดที่ 3,115.18 ส่วนดัชนีฮั่งเส็งปิดวันนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ตามทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐเมื่อคืนนี้ โดยดัชนีฮั่งเส็งเพิ่มขึ้น 0.53% ปิดวันนี้ที่ 31,259.10 ขณะเดียวกัน นักลงทุนยังคงจับตาการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และนาย คิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 12 มิ.ย. เพื่อดูว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถบรรลุข้อตกลงในการปลดอาวุธนิวเคลียร์เกาหลีเหนือได้หรือไม่

- ตลาดหุ้นไทย วันพุธ (6 มิ.ย.)  ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นนำโดยหุ้นในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม เงินทุนและหลักทรัพย์ พลังงาน และกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยปิดตลาดวันนี้ SET INDEX เพิ่มขึ้น 5.99จุด

 

โดย สำนักวิจัยธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประจำวันที่ 7 มิ.ย. 2561

Written by :
กระแสหุ้นออนไลน์
 

Comments

B
i
u
Quote
Code
List
List item
URL
Name *
Code   
ChronoComments by Joomla Professional Solutions
Submit Comment