สรุปประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินรายวัน - ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย |
![]() |
Tuesday, 03 July 2018 09:30 | |||
สถานการณ์เศรษฐกิจต่างประเทศ ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ระบุว่า ดัชนีภาคการผลิตของ ISM ในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 60.2 จากระดับ 58.7 ในเดือนพฤษภาคม โดยเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ด้านดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ภาวะขยายตัวของภาคการผลิตของสหรัฐ ทั้งนี้ ผลการสำรวจของ ISM สวนทางกับ IHS Markit ที่รายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สำหรับภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายนปรับตัวลงสู่ระดับ 55.4 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน จากระดับ 56.4 ในเดือนพฤษภาคม กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 0.4% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.9% ในเดือนเมษายน นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างจะเพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบรายปี การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 4.5% IHS Markit ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน รายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของยูโรโซนในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ระดับ 54.9 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 18 เดือน โดยต่ำกว่าตัวเลขดัชนี PMI เบื้องต้นประจำเดือนมิถุนายนที่ระดับ 55.0 และต่ำกว่าตัวเลขดัชนี PMI ขั้นสุดท้ายประจำเดือนพฤษภาคมที่ระดับ 55.5 การปรับตัวลงของดัชนี PMI ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของคำสั่งซื้อใหม่ ขณะที่การจ้างงานปรับตัวขึ้น อย่างไรก็ดี ดัชนียังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่า กิจกรรมในภาคการผลิตของยูโรโซนยังคงมีการขยายตัว ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของเยอรมนีในเดือนมิถุนายนลดลงสู่ระดับ 55.9 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 18 เดือน จากระดับ 56.9 ในเดือนพฤษภาคม การปรับตัวลงของดัชนี PMI ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของคำสั่งซื้อใหม่ ขณะที่การจ้างงานปรับตัวขึ้น อย่างไรก็ดี ดัชนียังคงอยู่เหนือกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่า กิจกรรมในภาคการผลิตของเยอรมนียังคงมีการขยายตัว ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีน ซึ่งมาร์กิตจัดทำร่วมกับไฉซิน อยู่ที่ระดับ 51.0 ในเดือนมิ.ย. ลดลงเล็กน้อยจากระดับ 51.1 ในเดือนพ.ค. เนื่องจากยอดส่งออกล็อตใหม่ในภาคการผลิตปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3อย่างไรก็ตาม ดัชนี PMI ที่เคลื่อนไหวเหนือระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตของจีนยังคงมีการขยายตัวจากเดือนก่อน ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นในกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ของญี่ปุ่นปรับตัวลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น และตลาดแรงงานยังคงอยู่ในภาวะตึงตัว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ของญี่ปุ่น (ทังกัน) ซึ่งรวมถึงผู้ผลิตรถยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ประจำไตรมาส 2 อยู่ที่ +21 ลดลง 3 จุดจากระดับ +24 ในไตรมาส 1 และยังต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ระดับ +22 การเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ความเชื่อมั่นกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ผลิตในกลุ่มเหล็กและโลหะปลอดเหล็ก เช่น อลูมิเนียม หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจำพวกเหล็กและอลูมิเนียมส่วนดัชนีความเชื่อมั่นของกลุ่มบริษัทนอกภาคการผลิตในไตรมาส 2 ซึ่งรวมถึงภาคบริการนั้น อยู่ที่ระดับ +24 เพิ่มขึ้น 1 จุด จากระดับ +23 ในไตรมาส 1 สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า BOJ ได้ทำการสำรวจบริษัทจำนวน 9,950 แห่งในระหว่างวันที่ 29 พ.ค. จนถึงวันที่ 29 มิ.ย. โดยมีบริษัทที่ตอบรับการสำรวจ 99.6% คอร์โลจิก ซึ่งเป็นบริษัทด้านข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ของออสเตรเลียเปิดเผยว่า ราคาบ้านในออสเตรเลียเดือนมิ.ย. ปรับตัวลง 0.2% นับเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเดือนที่ 9 หลังจากธนาคารพาณิชย์มีความเข้มงวดมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อหากแบ่งตามพื้นที่พบว่า ราคาบ้านที่ปรับตัวลงมากสุดจะอยู่ในเขตเมืองใหญ่อย่างซิดนีย์ซึ่งปรับตัวลง 0.3% และเมลเบิร์นปรับตัวลดลง 0.4% ทั้งนี้ คอร์โลจิกคาดการณ์ว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาบ้านในออสเตรเลียชะลอตัวลงนั้น ยังไม่มีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายลงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศ กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (Headline CPI) ในเดือนมิถุนายนขยายตัว 1.38% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ระดับ 102.05 ตามการสูงขึ้นของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารเป็นหลัก โดยน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 12.9% จากการสูงขึ้นของน้ำมันทุกชนิด รวมทั้งก๊าซรถยนต์ อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า Headline CPI ลดลง 0.09% (mom) จากที่เพิ่มขึ้นถึง 0.56% ในเดือนก่อน ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานที่ไม่รวมพลังงานและอาหารสด (Core CPI) ขยายตัวที่ 0.83% (yoy) มาอยู่ที่ 102.06 และขยายตัว 0.11% จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงครึ่งแรกของปี (มกราคม-มิถุนายน) เพิ่มขึ้น 0.97% (AoA) ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 0.69%กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อจาก 0.7-1.7% เป็น 0.8-1.6% พร้อมระบุว่า อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยน่าจะอยู่ในกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินระยะปานกลางที่รัฐบาลกำหนดไว้ที่ 2.5?1.5%
ปัจจัยต่างประเทศ (3 กรกฎาคม 2561): ตามเวลาประเทศไทย ประเทศ ปัจจัย EU - ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ค. - ยอดค้าปลีกเดือนพ.ค. ฝรั่งเศส - ยอดค้าปลีกเดือนพ.ค. USA - ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนพ.ค.
ปัจจัยในประเทศ วันที่ ปัจจัย 3 ก.ค. - ประชุมคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.) 4 ก.ค. - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานนโยบายการเงิน 5 ก.ค. - สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)แถลงการพิจารณาค่าเอฟทีสำหรับเดือนก.ย. – ธ.ค.2561 - คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)ประกาศร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น ความถี่ 1800 MHz และ 900 MHz ในราชกิจจานุเบกษา Source: https://www.ryt9.com/s/iq03/2844545
Money Market - ดอลลาร์/บาท วันจันทร์ (2 ก.ค.) เงินบาทอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในเช้าวันนี้โดยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯเมื่อวันศุกร์ที่ออกมายังชี้ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐฯยังเติบโตต่อเนื่องในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาแม้ว่าการอัตราการขยายตัวจะชะลอลงมาบ้างจากเดือนก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อก็มีแนวโน้มเข้าสู่ 2% ตามเป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐฯได้อย่างมีเสถียรภาพและหนุนแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ - ดอลลาร์/เยน วันจันทร์ (2 ก.ค.) เงินเยนอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงเช้าวันนี้ขณะที่รายงาน Tankan business sentiment ของธนาคารกลางญี่ปุ่นชี้ว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นลดลงเล็กน้อย ขณะเดียวกันปัจจัยเรื่องแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯกับญี่ปุ่นยังหนุนดอลลาร์สหรัฐฯให้มีแนวโน้มแข็งค่าเมื่อเทียบกับเยน อย่างไรก็ดีในช่วงนี้ประเด็นความขัดแย้งการค้าสหรัฐฯกับประเทศต่างๆก็มีผลให้นักลงทุนระมัดระวังเพิ่มขึ้นและเพิ่มความต้องการถือเงินเยนเช่นกัน - ยูโร/ดอลลาร์ วันจันทร์ (2 ก.ค.) เงินยูโรอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในเช้าวันนี้ โดยเงินยูโรวันนี้ถูกกดดันจากปัจจัยการเมืองเยอรมนีหลังรัฐมนตรีมหาดไทยของเยอรมนีซึ่งมาจากพรรคร่วมรัฐบาลมีความเห็นขัดแย้งในเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมผุ้อพยพและขู่ที่จะออกจากรัฐบาลซึ่งจะส่งผลลบต่อสภานะความมั่นคงของรัฐบาลเยอรมนีซึ่งเพิ่งจัดตั้งได้ไม่นาน
Capital Market - ตลาดหุ้นสหรัฐฯวันจันทร์ (2 กค) ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (2 ก.ค.) โดยได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ดีดตัวขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นในกลุ่ม FAANG (เฟซบุ๊ก แอปเปิล อเมซอน เน็ตฟลิกซ์ และอัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล) หลังจากมีการคาดการณ์ว่าผลประกอบการของบริษัทเทคโนโลยีจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในไตรมาส 2 ปีนี้ นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงดัชนีภาคการผลิตเดือนมิ.ย. อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กยังคงได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและบรรดาประเทศคู่ค้า ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,307.18 จุด เพิ่มขึ้น 35.77 จุด หรือ +0.15% - ตลาดหุ้นเอเชีย วันจันทร์ (2 ก.ค.)ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปิดตลาดวันนี้ลดลง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับนโยบายการสหรัฐฯในการจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน โดยดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปิดลดลง 2.52% มาอยู่ที่ 2,775.56 นักลงทุนในตลาดการเงินต่างจับตารัฐบาลจีนและสหรัฐซึ่งเตรียมบังคับใช้มาตรการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าในวันศุกร์ที่ 6 ก.ค.นี้ หลังจากสำนักงานตัวแทนการค้าสหรัฐ (USTR) ได้ประกาศรายการสินค้าจำนวน 1,100 รายการของจีนที่จะถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 25% คิดเป็นมูลค่ารวม 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ USTR ระบุว่า สินค้าล็อตแรกจำนวน 818 รายการ มูลค่า 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์ จะถูกเรียกเก็บภาษีตั้งแต่วันที่ 6 ก.ค.นี้เป็นต้นไป ขณะที่สินค้าล็อตที่ 2 กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา ดัชนีนิกเกอิปิดลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือนครึ่งในวันนี้ หลังจากดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนดิ่งลงอย่างหนัก อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน โดยดัชนีนิกเกอิปิดร่วงลง 2.21% มาอยู่ที่ 21,811.93 - ตลาดหุ้นไทย วันจันทร์ (2 ก.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้เคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบในช่วงแรกก่อนที่ในช่วงบ่ายดัชนีจะปรับตัวสูงขึ้น โดยวันนี้มีแรงซื้อมากในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ วัสดุก่อสร้าง พาณิชย์ ขนส่ง และกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขณะที่มีแรงขายมากในหุ้นกลุ่มพลังงาน โดยปิดตลาดวันนี้ SET INDEX เพิ่มขึ้น 11.69 จุด
โดย สำนักวิจัยธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประจำวันที่ 3 ก.ค. 2561
|
Comments