สรุปประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินรายวัน - ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย |
![]() |
![]() |
![]() |
Wednesday, 04 July 2018 09:28 | |||
สถานการณ์เศรษฐกิจต่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า ยอดคำสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 0.4% (mom) หลังจากลดลง 0.4% ในเดือนเมษายน นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานจะทรงตัว เมื่อเทียบรายปี ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเพิ่มขึ้น 8.7% ส่วนยอดสั่งซื้อสินค้าทุนพื้นฐาน ที่ไม่รวมหมวดอาวุธและเครื่องบิน เพิ่มขึ้น 0.3% หลังจากเพิ่มขึ้น 2.0% โดยยอดสั่งซื้อดังกล่าวได้รับการจับตาว่าเป็นมาตรวัดความเชื่อมั่น และแผนการใช้จ่ายในภาคธุรกิจ นายมิเชล ซอนเดอร์ส ซึ่งเป็นสมาชิกในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) กล่าวว่า BoE อาจสร้างความประหลาดใจต่อตลาดด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ นายซอนเดอร์สเป็นสมาชิกสายเหยี่ยวใน MPC และที่ผ่านมามักลงมติให้ BoE ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในการประชุม BoE ในเดือนที่แล้ว กรรมการส่วนใหญ่มีมติให้คงอัตราดอกเบี้นที่ 0.5% แต่มีกรรมการ 3 รายเห็นชอบให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 0.75% นักวิเคราะห์ระบุว่า การที่กรรมการ BoE เสียงแตกในการลงมติดังกล่าว เป็นการบ่งชี้ว่า BoE จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า ธนาคารกลางออสเตรเลียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.5% ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ โดยให้เหตุผลในการคงอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ว่าเป็นเพราะตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลง หนี้สินภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และการขยายตัวของค่าจ้างที่ชะลอตัว แถลงการณ์ของแบงก์ชาติออสเตรเลียระบุว่า อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำนั้น ยังคงเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจของออสเตรเลีย และคาดว่าจะสามารถลดอัตราว่างงาน แม้ว่าจะเป็นการลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปก็ตาม สำนักงานกำกับดูแลการเงินของเกาหลีใต้ (FSS) รายงานว่า อัตราส่วนการผิดนัดชำระหนี้เงินกู้ธนาคารของเกาหลีใต้ปรับตัวขึ้น 2 เดือนติดต่อกัน หลังจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเกาหลีใต้มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งรายงานของ FSS ระบุว่า ณ สิ้นสุดเดือนพ.ค. อัตราส่วนหนี้การผิดนัดชำระหนี้อยู่ที่ 0.62% ซึ่งเพิ่มขึ้น 0.03% จากเดือนก่อนหน้าทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของอัตราการผิดนัดชำระหนี้มีสาเหตุมาจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นสู่ระดับ 1.5% หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นที่ระดับ 1.75-2.00% เมื่อเดือนที่ผ่านมา นายมิเชล ซอนเดอร์ส ซึ่งเป็นสมาชิกในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) กล่าวว่า BoE อาจสร้างความประหลาดใจต่อตลาดด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ นายซอนเดอร์สเป็นสมาชิกสายเหยี่ยวใน MPC และที่ผ่านมามักลงมติให้ BoE ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในการประชุม BoE ในเดือนที่แล้ว กรรมการส่วนใหญ่มีมติให้คงอัตราดอกเบี้นที่ 0.5% แต่มีกรรมการ 3 รายเห็นชอบให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 0.75% นักวิเคราะห์ระบุว่า การที่กรรมการ BoE เสียงแตกในการลงมติดังกล่าว เป็นการบ่งชี้ว่า BoE จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า
สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้ขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เหลือ 7% ออกไปอีก 1 ปี จากที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 ก.ย.61 โดยเริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค.61 - 30 ก.ย.62 เนื่องจากคาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจปี 61 จะดีขึ้นต่อเนื่องจากปี 60 ส่งผลต่ออุปสงค์ การบริโภค การลงทุน ดังนั้น จึงเห็นควรให้ขยายเวลาใช้ VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี พร้อมระบุว่า กระทรวงการคลังได้คาดการณ์ด้วยว่า การลดอัตราภาษี VAT ดังกล่าวต่อไปอีก 1 ปี จะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ 258,500 ล้านบาท สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รายงานว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤษภาคม 2561 นี้ ขยายตัว 3.2% (yoy) โดยเป็นการขยายตัวเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13 จากที่ขยายตัว 2.96% ในเดือนพฤษภาคม 2560 อันเป็นผลมาจากการส่งออกที่ฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ 5 เดือนแรกของปี 2561 MPI ขยายตัว 3.8% (5 เดือนแรกปี 2560 ขยายตัว 0.4%) โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลบวกประจำเดือนพฤษภาคม 2561 ได้แก่ รถยนต์และเครื่องยนต์ น้ำตาลทราย เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ยา Hard Disk Drive และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) รายงานว่า กกร.ได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 61 เป็น 4.3-4.8% จากเดิม 4.0-4.5% และปรับกรอบอัตราเงินเฟ้อทั่วไปขึ้นเป็น 0.9-1.5% จากเดิม 0.7-1.2% เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางเศรษฐกิจ จากมุมมองที่บวกขึ้นของการส่งออก การท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง ประกอบกับทิศทางเศรษฐกิจไทยที่เริ่มได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากการเติบโตของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากรายได้เกษตรกรที่เริ่มปรับตัวเป็นบวกซึ่งน่าจะช่วยหนุนกำลังซื้อฐานรากให้ดีขึ้น และเครื่องชี้การลงทุนที่ทยอยฟื้นตัว ทำให้โดยรวมแล้ว พร้อมกันนั้น กกร.ยังปรับเพิ่มประมาณการการส่งออกในปี 61 เป็น 7.0-10.0% จากเดิม 5.0-8.0% เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกยังมีความต่อเนื่อง จะยังคงเป็นแรงหนุนการส่งออกของไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ อย่างไรก็ตาม กกร. ประเมินว่า ผลกระทบจากข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน และนานาประเทศ จะส่งผลกระทบที่จำกัดต่อการส่งออกของไทยในปีนี้
ปัจจัยต่างประเทศ (4 กรกฎาคม 2561): ตามเวลาประเทศไทย ประเทศ ปัจจัย ออสเตรเลีย - ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือนพ.ค. จีน - ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนมิ.ย.จากไฉซิน EU - ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนมิ.ย.จากมาร์กิต (รวมประเทศสำคัญหลัก)
ปัจจัยในประเทศ วันที่ ปัจจัย 4 ก.ค. - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานนโยบายการเงิน 5 ก.ค. - สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)แถลงการพิจารณาค่าเอฟทีสำหรับเดือนก.ย. – ธ.ค.2561 - คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)ประกาศร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz และ 900 MHz ในราชกิจจานุเบกษา Source: https://www.ryt9.com/s/iq03/2844545
Money Market - ดอลลาร์/บาท วันอังคาร (3 ก.ค.) เงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงท้ายตลาด โดยในวันนี้ยังขาดปัจจัยที่จะเป็นผลกดดันตลาดการเงินเพราะใกล้กับช่วงที่ตลาดการเงินของสหรัฐฯจะปิดทำการเนื่องในวันชาติในวันที่ 4 ก.ค. อย่างไรก็ดี ในช่วงปลายสัปดาห์คงต้องติดตามปัจจัยสำคัญที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกรณีที่การปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนของสหรัฐฯ จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันศุกร์นี้ รวมทั้งตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือนมิ.ย.ของสหรัฐ ซึ่งกระทรวงแรงงานสหรัฐมีกำหนดเปิดเผยในวันศุกร์นี้ หลังจากที่ตัวเลขจ้างงานเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 223,000 ตำแหน่ง สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 188,000 ตำแหน่ง - ดอลลาร์/เยน วันอังคาร (3 ก.ค.) เงินเยนแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ นักลงทุนยังติดตามปัจจัยสำคัญที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ โดยเฉพาะกรณีที่การปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนของสหรัฐฯ จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันศุกร์นี้ รวมทั้งตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือนมิ.ย.ของสหรัฐ และรายงานการประชุมประจำเดือนมิ.ย.ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันพฤหัสบดีนี้ตามเวลาสหรัฐ หรือในช่วงเช้าวันศุกร์นี้ตามเวลาไทย - ยูโร/ดอลลาร์ วันอังคาร (3 ก.ค.) เงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ยังได้รับแรงกดดันจากปัญหาความขัดแย้งเรื่องสงครามการค้า อย่างไรก็ดี ในช่วงปลายสัปดาห์คงต้องติดตามปัจจัยสำคัญที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกรณีที่การปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนของสหรัฐฯ จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันศุกร์นี้ รวมทั้งตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือนมิ.ย.ของสหรัฐ และรายงานการประชุมประจำเดือนมิ.ย.ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันพฤหัสบดีนี้ตามเวลาสหรัฐ หรือในช่วงเช้าวันศุกร์นี้ตามเวลาไทย
Capital Market - ตลาดหุ้นสหรัฐฯวันอังคาร (3 ก.ค.) ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลดลงเมื่อคืนนี้ (3 ก.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการลดลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นเฟซบุ๊กที่ลดลงกว่า 2.3% หลังจากสื่อรายงานว่า หน่วยงานต่างๆของสหรัฐกำลังขยายขอบข่ายการสอบสวนกรณีที่แคมบริดจ์ อนาลิติกา ซึ่งเป็นบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลการเมือง มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรั่วไหลของข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊ก นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับผลกระทบจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,174.82 จุด ลดลง 0.54% ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 2,713.22 จุด ลดลง 0.49% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,502.67 จุด ลดลง 0.86% - ตลาดหุ้นเอเชีย วันอังคาร (3 ก.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปิดปรับลดลง นำโดยดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงปิดวันนี้ที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการใช้มาตรการจัดเก็บภาษีของสหรัฐและจีนในวันศุกร์นี้ โดยดัชนีฮั่งเส็งลดลง 409.54 จุด หรือ 1.41% ปิดที่ 28,545.57 จุด ด้านดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดปรับตัวลง เนื่องนักลงทุนวิตกกังวลหลังจากดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงร่วงลงอย่างหนัก นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยกดดันจากการที่แรงซื้อเก็งกำไร ซึ่งส่งเข้าหนุนตลาดหลังจากดัชนีนิกเกอิร่วงลงอย่างหนักเมื่อวานนี้ ได้ถูกสกัดด้วยแรงขาย ทั้งนี้ ดัชนีนิกเกอิปิดลบ 26.39 จุด หรือ 0.12% มาอยู่ที่ระดับ 21,785.54 จุด - ตลาดหุ้นไทย วันอังคาร (3 ก.ค.) ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,626.62 จุด เพิ่มขึ้น 19.35 จุด (+1.20%) ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 58,567.28 ล้านบาท ตามทิศทางตลาดขนาดใหญ่ในเอเชียและยุโรป โดยมีแรงซื้อกลับเข้ามา หลังจากที่ดัชนีปรับตัวลงไปแรงในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ปัจจัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศยังไม่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะสงครามการค้าและค่าเงินบาทบาทที่อ่อนค่ายังกดดันอยู่ ขณะเดียวกันก็ยังไม่เห็นแนวโน้มของกระแสเงินทุนที่จะไหลกลับเข้ามามากเช่นเดียวกัน
โดย สำนักวิจัยธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประจำวันที่ 4 ก.ค. 2561
|
![]() | Today | 898 |
![]() | All days | 898 |
Comments