Forgot your password? Create an account
  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
News

Stockwave Online กระแสหุ้นออนไลน์ หุ้น หลักทรัพย์ การเงิน ข่าวเศรษฐกิจ

Home Economic View ยุทธศาสตร์สับปะรดปี ‘53-57...มุ่งรักษาความเป็นผู้นำอันดับ 1 ของโลก
ยุทธศาสตร์สับปะรดปี ‘53-57...มุ่งรักษาความเป็นผู้นำอันดับ 1 ของโลก PDF Print E-mail
Monday, 12 July 2010 11:37

ยุทธศาสตร์สับปะรดปี ‘53-57...มุ่งรักษาความเป็นผู้นำอันดับ 1 ของโลก : แต่ยัง
ต้องระวังปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน


บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงาน เรื่อง ยุทธศาสตร์สับปะรดปี ‘53-57...มุ่ง
รักษาความเป็นผู้นำอันดับ 1 ของโลก : แต่ยังต้องระวังปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน โดย
ระบุว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2553 ที่ผ่านมา ได้มีการ
อนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรฯ ขอความเห็นชอบยุทธศาสตร์สับปะรดปี 2553 – 2557
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ประเทศไทยรักษาความเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในด้านการผลิต
และการส่งออกสับปะรดและผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ถึงแม้ว่าปัจจุบัน ไทยจะเป็นประเทศที่มี
ศักยภาพทั้งในด้านการผลิต และการส่งออกสับปะรดมากเป็นอันดับ 1 ของโลก
โดยเฉพาะการส่งออกสับปะรดกระป๋อง และน้ำสับปะรด ซึ่งถือเป็นสินค้าส่งออกที่
ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก และมีสัดส่วนในการส่งออกรวมกันมากกว่า
ร้อยละ 90 ของมูลค่าการส่งออกสับปะรดทั้งหมด อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้เข้า
ประเทศเฉลี่ยปีละประมาณ 640 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ครองส่วนแบ่งในตลาดโลก
กว่า ร้อยละ 40 แต่ในอนาคต ไทยอาจจะต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ซึ่งทุก
ฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งทางภาครัฐภาคเอกชน และเกษตรกรจะต้องให้ความร่วมมือเพื่อ
วางแนวทางการแก้ไข และพร้อมที่จะรับมือกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้
ไทยยังคงรักษาความเป็นผู้นำในการส่งออกสับปะรดในระยะยาวต่อไป ซึ่งศูนย์วิจัย
กสิกรไทย ได้ทำการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะมีผลกระทบต่อการผลิตและส่งออก
สับปะรดของไทย พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการปรับตัว โดยมีรายละเอียดดังนี้
ความไม่แน่นอนของวัตถุดิบสับปะรดในแต่ละฤดูกาลผลิต...ทั้งในแง่ของ
ปริมาณ และคุณภาพ นอกจากสภาพอากาศที่จะเป็นตัวกำหนดปริมาณและคุณภาพ
วัตถุดิบสับปะรดในแต่ละปีแล้ว ปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตสับปะรดของไทยยังคงมี
ปัญหา เนื่องจาก ยังมีการปลูกสับปะรดของเกษตรกรรายย่อย ส่งผลให้ปริมาณและ
คุณภาพของสับปะรดในแต่ละปีนั้นไม่คงที่ โดยเกษตรกรเหล่านี้จะใช้ราคาสับปะรด
ในปีก่อนหน้าเป็นตัวกำหนดปริมาณการปลูกว่าจะปลูกเพิ่มขึ้นหรือลดลง ส่งผลให้ผล
ผลิตที่ได้ไม่แน่นอน
ผลผลิตต่อไร่ต่ำ และต้นทุนสูง ผลผลิตสับปะรดเฉลี่ยต่อไร่ของไทยอยู่ใน
เกณฑ์ต่ำเพียง 3.7 ตัน/ไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญอย่างฟิลิปปินส์
ที่มีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ประมาณ 5.4 ตัน/ไร่ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยของไทยนั้น
สูงกว่าฟิลิปปินส์ ซึ่งต้นทุนการผลิตของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2.8 บาท/กก. นอก
จากนี้ ความผันผวนของราคาปัจจัยการผลิต ไม่ว่าจะเป็นราคาปุ๋ยเคมี หรือราคา
กระป๋องบรรจุภัณฑ์ ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสับปะรด โดยเฉพาะในปี
2553 ราคาเหล็กแผ่นเคลือบดีบุกและเคลือบโครเมี่ยมที่ใช้ผลิตกระป๋องปรับเพิ่มสูง
ขึ้น จึงคาดว่า จะส่งผลกระทบต่อราคาสับปะรดกระป๋องตามมา โดยราคากระป๋องจะ
เพิ่มขึ้น 0.38-0.80 บาท หรือเพิ่มขึ้น 1.4-2.7%
เผชิญการแข่งขันกับคู่แข่งที่สำคัญ
จับตาฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ในตลาดสหรัฐฯ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี
2553 สหรัฐฯ มีการนำเข้าสับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรดมูลค่ารวม 110.1 ล้าน
ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -12.2 (YoY) โดยสามารถแสดงแหล่งนำเข้าสับปะรด
กระป๋อง และน้ำสับปะรดที่สำคัญ 5 อันดับแรกของสหรัฐฯ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี
2553 ดังนี้
สับปะรดกระป๋อง    ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ    % YoY    สัดส่วน    น้ำสับปะรด
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ    % YoY    สัดส่วน
โลก    80.7    -11.2%    100%    โลก    29.4    -14.8%    100%
ไทย    38.4    -19.8%    47.6%    ฟิลิปปินส์    16.6    1.0%    56.5%
ฟิลิปปินส์    23.7    12.9%    29.4%    ไทย    8.7    -34.9%    29.6%
อินโดนีเซีย    10.2    -23.3%    12.6%    อินโดนีเซีย    1.8    -
20.8%    6.1%
จีน    6.2    -3.4%    7.7%    เคนย่า    1.0    -23.6%    3.4%
มาเลเซีย    1    -8.5%    1.2%    บราซิล    0.3    -0.9%    1.0%
เวียดนาม    0.2    239.2%    0.2%    เวียดนาม    0.2    11.9%    0.7%

สหรัฐฯ เป็นตลาดใหญ่ ที่มีความต้องการสินค้าทั้งที่เน้นและไม่เน้น
คุณภาพ แต่ต้องมีราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า ซึ่งผู้บริโภคในประเทศส่วน
ใหญ่จะนิยมสับปะรดกระป๋อง และน้ำสับปะรดที่มีคุณภาพ โดยสับปะรดที่มีคุณภาพดี
ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากไทย และฟิลิปปินส์เป็นหลัก
จะเห็นได้ว่า สหรัฐฯมีการนำเข้าสับปะรดกระป๋องจากไทยมากที่สุด แต่ใน
ขณะที่น้ำสับปะรดนั้น สหรัฐฯมีการนำเข้าจากฟิลิปปินส์มากขึ้น จนในช่วง 4 เดือนแรก
ปี 2553 สหรัฐฯได้นำเข้าน้ำสับปะรดจากฟิลิปปินส์มากกว่าไทย โดยมีมูลค่าการนำ
เข้า 16.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 (YoY) ดังนั้น ในอนาคตไทยจะต้อง
ระวังคู่แข่งที่สำคัญอย่างฟิลิปปินส์     
นอกจากนี้ เวียดนาม ถือเป็นประเทศใหม่ที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก ถึง
แม้เวียดนามจะมีมูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐฯไม่มากนัก แต่ด้วยต้นทุนในการผลิต
ของเวียดนามที่ต่ำกว่าไทย จึงเป็นไปได้ว่า ในอนาคตหากเวียดนามมีการพัฒนา
ศักยภาพในการผลิตและการส่งออกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เวียดนามน่าจะเป็นคู่แข่ง
ที่สำคัญของไทยอีกประเทศหนึ่ง โดยจะเห็นได้จาก ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2553
สหรัฐฯนำเข้าสับปะรดกระป๋องจากเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 239.2 (YoY) และนำเข้า
น้ำสับปะรดเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 (YoY)
จับตาฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และจีนในตลาดญี่ปุ่น ในช่วง 4 เดือนแรก
ของปี 2553 ญี่ปุ่น มีการนำเข้าสับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรดมูลค่ารวม 18.4
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 (YoY) โดยสามารถแสดงแหล่งนำเข้า
สับปะรดกระป๋อง และน้ำสับปะรดที่สำคัญ 5 อันดับแรกของญี่ปุ่น ในช่วง 4 เดือน
แรกของปี 2553 ดังนี้
สับปะรดกระป๋อง    ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ    % YoY    สัดส่วน    น้ำสับปะรด
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ    % YoY    สัดส่วน
โลก    12.3    -7.6%    100%    โลก    6.1    40.6%    100%
ไทย    6.7    -10.5%    54.5%    ไทย    3.9    70.8%    63.9%
ฟิลิปปินส์    2.2    -14.2%    17.9%    ฟิลิปปินส์    1.2    8.9%
16.7%
อินโดนีเซีย    2.0    -7.0%    16.3%    คอสตาริก้า    0.7    4.7%
11.5%
มาเลเซีย    0.9    -1.7%    7.3%    อินโดนีเซีย    0.3    181.3%    4.9%
จีน    0.2    165.8%    1.6%    อิสราเอล    0.0    -100.0%    n/a

ญี่ปุ่น เป็นอีกหนึ่งตลาดหลักของไทยในการส่งออกสับปะรดกระป๋องและน้ำ
สับปะรด ซึ่งปัจจุบันญี่ปุ่นมีการนำเข้าสับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรดจากไทยมาก
เป็นอันดับ 1 นอกจากนี้ ยังมีการนำเข้าจากฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และจีนซึ่งถือเป็นคู่
แข่งที่สำคัญของไทย
สับปะรดกระป๋อง นอกจากฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียซึ่งถือเป็นคู่แข่งที่
สำคัญของไทยแล้ว จีนซึ่งถือเป็นประเทศคู่แข่งใหม่ที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก
เนื่องจาก มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าไทยโดยเฉพาะค่าจ้างแรงงาน ส่งผลให้ญี่ปุ่นเริ่ม
หันไปนำเข้าสินค้าจากจีน โดยจะเห็นได้จากในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2553 ญี่ปุ่นนำ
เข้าสับปะรดกระป๋องจากจีนมูลค่า 0.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถึงแม้จะมีมูลค่าการนำเข้า
ไม่มากนัก แต่หากดูอัตราการขยายตัวจะเห็นได้ว่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 165.8 (YoY)
น้ำสับปะรด คู่แข่งที่สำคัญของไทยยังคงเป็นฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2553 ญี่ปุ่นนำเข้าน้ำสับปะรดจาก
อินโดนีเซียมูลค่า 0.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 181.3 (YoY) และนำเข้า
น้ำสับปะรดจากฟิลิปปินส์มูลค่า 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 (YoY)
มาตรการกีดกันทางการค้า ไทยจะต้องระมัดระวังในเรื่องของมาตรการการ
กีดกันทางการค้าของ แต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการการตอบโต้การทุ่มตลาด
(Anti-dumping) สิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร (GSP) รวมถึงมาตรการสินค้าและ
มาตรการสุขอนามัยต่างๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต และการส่งออกของ
ไทย ทำให้ความสามารถในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญลดลง
ด้านการผลิต    
การทำตลาดข้อตกลง (Contract-Farming) การจัดทำตลาดข้อตกลงระหว่าง
เกษตรกรกับโรงงานนั้นนับว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทั้งในแง่ปริมาณ และ
คุณภาพ โดยที่โรงงานทำการควบคุมในกระบวนการผลิตทั้งหมด ตั้งแต่การคัดเลือก
ใช้พันธุ์ การจัดการดูแล ตลอดจนการเก็บเกี่ยวจนถึงขั้นตอนการขนส่งไปถึงหน้าโรง
งาน โดยโรงงานควรมีนักส่งเสริมการเกษตรคอยควบคุม และเข้าไปให้ความรู้กับ
เกษตรกรอย่างใกล้ชิดตลอดทุกขั้นตอน ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ขายได้
ราคาดี และสามารถควบคุมปริมาณผลผลิตได้
การรวมกลุ่มของเกษตรกร ทั้งนี้เพื่อส้รางความเข้มแข็งให้กับกลุ่ม
เกษตรกร ในการร่วมมือกันปรับปรุงด้านการผลิตและการตลาด ทั้งในลักษณะเป็นการ
จัดตั้งขึ้นโดยความสมัครใจของเกษตรกรด้วยตนเอง หรือในลักษณะของสถาบัน
เกษตรกรที่รัฐเข้าไปสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้น เช่น กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ ล้วนแล้ว
แต่มีบทบาทสำคัญที่จะสนับสนุนให้เกษตรกรมีศักยภาพมากขึ้นทั้งในด้านการเพิ่มผล
ผลิต การปรับปรุงและควบคุมคุณภาพการผลิต ตลอดจนแก้ปัญหาทางด้านการตลาด
การจัดการด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงงานกับเกษตรกร นอกเหนือจากการ
ทำหน้าที่เป็นโรงงานและเกษตรกรแล้ว การให้ความสำคัญทางด้านสังคมถือเป็นอีก
ปัจจัยหนึ่งที่ปัจจุบันเกษตรกรต่างต้องการจากโรงงาน เพียงแค่มีการดูแลความเป็น
อยู่ ไม่ละทิ้งเขาและครอบครัว ไม่ไปผิดสัญญากับเขา เท่านี้เขาก็พร้อมที่จะผูกพัน
กับโรงงาน และพร้อมที่จะทำงานให้กับโรงงานอย่างเต็มความสามารถ

ด้านการส่งออก
ภาครัฐต้องผลักดันให้มีการเจรจากับประเทศผู้นำเข้า เพื่อลดมาตรการ
กีดกันทางการค้า ทั้งที่เป็นมาตราการทางภาษี และไม่ใช่ภาษี ทั้งนี้ ไทยต้องเร่งหา
พันธมิตรที่มีแนวความคิดเดียวกัน เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองให้มากขึ้นในการเจรจา
ลดการอุดหนุนการผลิตและการค้าสินค้าเกษตร เช่น การร่วมกับประเทศกลุ่มผู้ผลิต
สินค้าเกษตรส่งออก ติดตามศึกษาการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ต่างๆเพื่อให้ผู้ส่งออก
ไทยสามารถปรับตัวรองรับกับมาตรการกีดกันทางการค้าของประเทศผู้นำเข้า เป็นต้น
กำหนดมาตรการด้านการส่งออกสับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรด ซึ่งเป็น
สินค้าหลักที่นำรายได้เข้าประเทศ ให้มีการส่งออกสินค้าที่ได้มาตรฐานตามความต้อง
การของต่างประเทศ  เช่น HACCP GMP เป็นต้น  และไม่ขายตัดราคากันเอง เพื่อ
ป้องกันปัญหาการถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด
ภาครัฐต้องเพิ่มความร่วมมือกับภาคเอกชน ในการปรับปรุงระบบการผลิต
ให้สอดคล้องกับกฎระเบียบและมาตรฐานสินค้าตามที่ประเทศคู่ค้าต้องการ รวมทั้ง
ต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้อง
การของตลาด เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดใน
ตลาดโลกให้มากขึ้น รวมทั้งหาทางขยายการส่งออกไปสู่ตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ
รองรับอย่างต่อเนื่อง
อุตสาหกรรมส่งออกสับปะรดของไทย ถึงแม้จะพัฒนาจนสามารถเป็นผู้ส่ง
ออกรายใหญ่ของโลก แต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดและผู้ประกอบ
การโรงงานอุตสาหกรรมยังต้องเผชิญ ทั้งทางด้านการผลิตไม่ว่าจะเป็น ความไม่แน่
นอนของวัตถุดิบทำให้เกิดการขาดแคลนผลผลิตในบางช่วง หรือเกิดปัญหาผลผลิต
ล้นตลาดจนทำให้ราคาผลผลิตสับปะรดตกตํ่าในที่สุด นอกจากนี้ ประสิทธิภาพในการ
ผลิตสับปะรดของเกษตรกรโดยทั่วไป เมื่อพิจารณาจากผลผลิตต่อไร่ยังอยู่ในเกณฑ์
ตํ่าและมีต้นทุนการผลิตสูง และการส่งออกไม่ว่าจะเป็นเผชิญกับคู่แข่งที่สำคัญอย่าง
ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย จีน และเวียดนาม รวมถึงมาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ
ดังนั้น จากการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สับปะรดปี 2553-2557 เพื่อเป็นแนวทางในการ
พัฒนาสับปะรดอย่างเป็นระบบ จึงเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาทั้งด้านการ
ผลิต และการตลาดในระยะยาว อย่างไรก็ตาม เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามแผน
ยุทธศาสตร์ที่วางไว้นั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เกษตรกรและผู้
ประกอบการโรงงานเป็นสำคัญ เพื่อให้เกษตรกรผู้ผลิตสับปะรดมีรายได้ที่มั่นคง
และโรงงานมีวัตถุดิบที่มีคุณภาพป้อนโรงงานได้อย่างสมํ่าเสมอ ซึ่งจะส่งผลให้
อุตสาหกรรมแปรรูปสับปะรดของไทยมีศักยภาพการผลิตและเพิ่มขีดความ
สามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ





ที่มา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย  



Written by :
พิราบขาว
 

Comments

B
i
u
Quote
Code
List
List item
URL
Name *
Code   
ChronoComments by Joomla Professional Solutions
Submit Comment
 
 

Login

Forgot your password? Create an account
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday1900
mod_vvisit_counterAll days1900

We have: 1899 guests online
Your IP: 3.145.66.104
Mozilla 5.0, 
Today: Nov 24, 2024

4326296