Error
สรุปประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินรายวัน - ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย
Print
Friday, 15 June 2018 09:39

สถานการณ์เศรษฐกิจต่างประเทศ

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ เปิดเผยว่า สหรัฐฯ เตรียมเผชิญหน้ากับจีนในประเด็นการค้าอย่างเต็มรูปแบบ โดยรัฐบาลสหรัฐเตรียมประกาศรายชื่อสินค้าจีนวงเงิน 5 หมื่นล้านดอลลาร์ที่จะถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้า 25% ในวันพรุ่งนี้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าน่าจะมีการบังคับใช้จริงในเดือนก.ค. ทั้งนี้ ประธานาธิบดีสหรัฐได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวทางสถานีฟ็อกซ์นิวส์ว่า รัฐบาลจีนอาจจะไม่พอใจที่สหรัฐมีท่าทีแข็งกร้าวในประเด็นการค้าเช่นนี้ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้สถานการณ์ตึงเครียดทางการค้าระหว่างสองประเทศต้องดุเดือดขึ้นอีกครั้ง

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้อนุมัติมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน วงเงิน 5 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยคณะทำงานของปธน.ทรัมป์เตรียมเปิดเผยรายชื่อสินค้าจีนที่จะถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าในวันนี้การตัดสินใจดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่ปธน.ทรัมป์ได้ประชุมหารือกับที่ปรึกษาทางการค้าของทำเนียบขาวเมื่อวานนี้ และมีขึ้นไม่นานหลังจากทำเนียบขาวได้ออกแถลงการณ์ว่า รัฐบาลสหรัฐจะยังคงเดินหน้าใช้มาตรการปกป้องเทคโนโลยี และทรัพย์สินทางปัญญาจากพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เหมาะสมของจีน โดยระบุว่าในวันที่ 15 มิ.ย.นี้ สหรัฐจะเปิดเผยรายชื่อสินค้าจีนวงเงิน 5 หมื่นล้านดอลลาร์ที่จะถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้า 25% ส่วนในวันที่ 30 มิ.ย. ทางการสหรัฐจะประกาศข้อจำกัดในการลงทุน และการควบคุมการส่งออกต่อผู้นำภาคธุรกิจของจีนและองค์กรของจีนที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถือครองเทคโนโลยีที่มีความสำคัญในภาคอุตสาหกรรม

ที่ประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ พร้อมกับคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.40% และคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% ECB ระบุว่าจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยต่อไป อย่างน้อยจนถึงช่วงฤดูร้อนของปีหน้า ขณะเดียวกัน ECB ประกาศคงวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ระดับ 3 หมื่นล้านยูโร/เดือน จนถึงเดือนก.ย. อย่างไรก็ดี ECB จะเริ่มปรับลดวงเงิน QE สู่ระดับ 1.5 หมื่นล้านยูโรในเดือนต.ค.-ธ.ค. และจะยุติมาตรการ QE ภายในสิ้นเดือนธ.ค

นายเฉิง ชือ นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคาร ICBC International ระบุเศรษฐกิจของจีนจะยังคงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจที่มีความคืบหน้าอย่างมาก โดยคาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนในปี 2561 จะขยายตัว 6.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี ขณะเดียวกันก็คาดว่ายอดค้าปลีกของประเทศจะเพิ่มขึ้น 10.3% ตลอดทั้งปี การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น 7.1% และการนำเข้าเพิ่มขึ้น 20.5% ส่วนอัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ โดยคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้น 2.4% ทั้งนี้ นายเฉิงกล่าวว่า ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจที่ประสบความสำเร็จของจีน เนื่องจากการปฏิรูปโครงสร้างด้านอุปทานมีความก้าวหน้าอย่างมาก และเป็นหัวใจสำคัญของความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจของประเทศ

สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า การลงทุนด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัว 10.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยชะลอตัวลงเล็กน้อยจากช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ซึ่งมีการขยายตัว 10.3%

สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า ยอดค้าปลีกสินค้าผู้บริโภคในเดือนพฤษภาคมปรับตัวขึ้น 8.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 3.04 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 4.75 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะเดียวกันยังได้รายงานว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคมขยายตัว 6.8% ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือนเมษายนที่ขยายตัว 7% ส่วนในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 6.9% ซึ่งทรงตัวจากช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ทั้งนี้ ทางการจีนใช้ข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมเป็นมาตรวัดกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทขนาดใหญ่ที่มีรายได้ต่อปีอย่างน้อย 20 ล้านหยวน (ราว 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

สถาบันเยอรมนีเพื่อการวิจัยเศรษฐกิจ (DIW) เตือนว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีกำลังถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอก ซึ่งได้ส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลง ทั้งนี้ DIW ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของเยอรมนีลงเดิมที่คาดว่า GDP จะขยายตัว 2.2% ในปี 2561 ได้ปรับลดลงเป็น 1.9% ในขณะเดียวกันก็ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ของปี 2562 จากเดิมซึ่งคาดการณ์ไว้ที่ 2.4% เหลือเพียง 1.7%

สำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย (ABS) รายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 12,000 ตำแหน่ง ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 19,000 ตำแหน่ง อย่างไรก็ดี แม้การจ้างงานเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาด แต่อัตราว่างงานเดือนพฤษภาคมก็ยังคงปรับตัวลดลง โดยลดลงสู่ระดับ 5.4% จาก 5.6% ในเดือนก่อน ขณะเดียวกัน ABS ได้ปรับทบทวนตัวเลขการจ้างงานในเดือนเมษายน โดยระบุว่า ตัวเลขจ้างงานเดือนเมษายนเพิ่มขึ้น 18,400 ตำแหน่ง ซึ่งลดลงจากการประมาณการเบื้องต้นที่ระบุว่า ปรับตัวขึ้น 22,600 ตำแหน่ง

สำนักข่าวเกียวโดรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า รัฐบาลญี่ปุ่นวางแผนที่จะจัดการประชุมสุดยอดระหว่างนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรี และนายคิม จอง-อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ในเดือนก.ย.นี้ ที่ประเทศรัสเซีย หลังจากที่นายคิมแสดงความพร้อมในการพบปะกับนายอาเบะ ในระหว่างการประชุมร่วมกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่สิงคโปร์ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา

 

ปัจจัยต่างประเทศ (15 มิถุนายน 2561): ตามเวลาประเทศไทย

 

ประเทศ      ปัจจัย

จีน          - ดัชนีราคาบ้านเดือนพ.ค.

ญี่ปุ่น         - ธนาคารกลางญี่ปุ่นประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ย

EU          - ดุลการค้าเดือนเม.ย.

- อัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ค.

- การผลิตภาคอุตสาหกรรม-การใช้กำลังการผลิตเดือนพ.ค.

- ความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนมิ.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

 

ปัจจัยในประเทศ

วันที่          ปัจจัย

สัปดาห์ที่ 3    - สภาธุรกิจตลาดทุนไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน

- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม, ยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์

20 มิ.ย.          ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)

Source: http://www.ryt9.com/s/iq03/2819751om/s/iq03/2814042

 

Money Market

- ดอลลาร์/บาท วันพฤหัสบดี (14 มิ.ย.)  ค่าเงินบาทอ่อนค่า จากดอลลาร์สหรัฐที่ได้รับแรงกดดันจากผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามที่คาดไว้ และยังส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 4 ครั้งในปีนี้ ขณะเดียวกัน นักลงทุนยังติดตามการหารือนอกรอบระหว่างซาอุดิอาระเบีย และรัสเซีย ซึ่งคาดว่าจะเจรจาข้อตกลงในการผลิตน้ำมันระหว่างกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และรัสเซีย รวมถึงให้ติดตามการประกาศสินค้าที่จะเก็บภาษีจากจีน และติดตามการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในประเด็นการลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)

- ดอลลาร์/เยน วันพฤหัสบดี (14 มิ.ย.)  เงินเยนอ่อนค่า ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีปรับตัวลดลงในการซื้อขายวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนได้เข้าซื้อพันธบัตรซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย หลังกระแสวิตกเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนได้กลับมาปกคลุมตลาดการเงินอีกครั้ง

- ยูโร/ดอลลาร์ วันพฤหัสบดี (14 มิ.ย.)  ยูโรอ่อลค่าเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ และปอนด์ หลังจากที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่งสัญญาณยุติการใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน ทั้งนี้ ที่ประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ พร้อมกับคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.40% และคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% ECB ระบุว่าจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยต่อไป อย่างน้อยจนถึงช่วงฤดูร้อนของปีหน้า ขณะเดียวกัน ECB ประกาศคงวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ระดับ 3 หมื่นล้านยูโร/เดือน จนถึงเดือนก.ย. อย่างไรก็ดี ECB จะเริ่มปรับลดวงเงิน QE สู่ระดับ 1.5 หมื่นล้านยูโรในเดือนต.ค.-ธ.ค. และจะยุติมาตรการ QE ภายในสิ้นเดือนธ.ค

 

Capital Market

- ตลาดหุ้นสหรัฐฯวันพฤหัสบดี (14 มิ.ย.)  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดขยับลงเมื่อคืนนี้ (14 มิ.ย.) โดยได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มธนาคาร รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน อย่างไรก็ตาม ดัชนี S&P 500 ดีดตัวขึ้นปิดในแดนบวก ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดทำนิวไฮ โดยได้ปัจจัยหนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ และการที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไปจนถึงปีหน้า ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,175.31 จุด ลดลง 0.10% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,782.49 จุด เพิ่มขึ้น 0.25% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,761.04 จุด เพิ่มขึ้น 0.85%

- ตลาดหุ้นเอเชีย วันพฤหัสบดี (14 มิ.ย.)  ดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงปิดวันนี้ปรับตัวลดลง หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมวันก่อน ซึ่งเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ในปีนี้ พร้อมกับส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นอีก 2 ครั้งในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ โดยดัชนีฮั่งเส็งลดลง 0.93% ปิดวันนี้ที่ 30,440.17 จุด ด้านดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดร่วงลง เนื่องจากนักลงทุนเริ่มกลับมาวิตกกังวลเกี่ยวข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน หลังจากสื่อรายงานว่า สหรัฐเริ่มกระบวนการตามแผนเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน ทั้งนี้ ดัชนีนิกเกอิปิดลดลง 0.99% มาอยู่ที่ระดับ 22,738.61 จุด

- ตลาดหุ้นไทย วันพฤหัสบดี (14 มิ.ย.)  ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,709.86 จุด ลดลง 8.48 จุด (-0.49%) ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 59,741.75 ล้านบาท ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงเช่นเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย จากผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามที่คาดไว้ และยังส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 4 ครั้งในปีนี้ ขณะเดียวกัน นักลงทุนยังติดตามการหารือนอกรอบระหว่างซาอุดิอาระเบีย และรัสเซีย ซึ่งคาดว่าจะเจรจาข้อตกลงในการผลิตน้ำมันระหว่างกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และรัสเซีย รวมถึงให้ติดตามการประกาศสินค้าที่จะเก็บภาษีจากจีน และติดตามการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในประเด็นการลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)

 

โดย สำนักวิจัยธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประจำวันที่ 15 มิ.ย. 2561

Written by :
กระแสหุ้นออนไลน์
 

Comments

B
i
u
Quote
Code
List
List item
URL
Name *
Code   
ChronoComments by Joomla Professional Solutions
Submit Comment