Forgot your password? Create an account
  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
News

Stockwave Online กระแสหุ้นออนไลน์ หุ้น หลักทรัพย์ การเงิน ข่าวเศรษฐกิจ

Home Economic View เปิดโลกธุรกิจ SME กับ ปกรณ์:ธุรกิจออนไลน์ เครื่องมือเอสเอ็มอียุคประหยัดจริงหรือ?
เปิดโลกธุรกิจ SME กับ ปกรณ์:ธุรกิจออนไลน์ เครื่องมือเอสเอ็มอียุคประหยัดจริงหรือ? PDF Print E-mail
Wednesday, 21 April 2010 15:33

ธุรกิจออนไลน์ เครื่องมือเอสเอ็มอียุคประหยัดจริงหรือ?




โดย ปกรณ์ พรรธนะแพทย์

รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย


ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตกลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ โดยเข้ามาช่วยลดต้นทุนและขั้นตอนดำเนินการ ทั้งในด้านของการดำเนินงานภายในองค์กร การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การตลาด การขาย และอื่นๆ โดยเฉพาะการทำธุรกิจออนไลน์ จนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหลายรายได้ปรับเปลี่ยนธุรกิจของตนไปสู่รูปแบบการทำธุรกิจออนไลน์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการบางส่วนยังสงสัยว่าธุรกิจออนไลน์เข้ามาช่วยลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจจริงหรือไม่ เนื่องจากการปรับรูปแบบการทำธุรกิจมาพึ่งพาระบบอินเทอร์เน็ตหรือออนไลน์มากขึ้นนั้นต้องมีการลงทุนด้านเครื่องมืออุปกรณ์และด้านทรัพยากรบุคคล นอกจากนี้ยังไม่ทราบถึงข้อดีและข้อเสียอย่างชัดเจน หากนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสมอาจไม่ช่วยให้ประหยัดต้นทุนได้อย่างที่คาดหวังไว้


  • ข้อดีและข้อเสียของธุรกิจออนไลน์


ธุรกิจออนไลน์เป็นแนวทางหนึ่งสำหรับการดำเนินธุรกิจ ซึ่งก็ย่อมต้องมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ก่อนที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะนำเอาระบบออนไลน์ไปใช้ในธุรกิจของตัวเอง จึงควรทราบถึงข้อดีและข้อเสียของธุรกิจออนไลน์เสียก่อน เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด โดยสามารถวิเคราะห์ด้วย SWOT Analysis ดังนี้


จุดแข็ง (Strengths)

  • ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำกว่าการเปิดหน้าร้านขายของตามปกติ ไม่ว่าจะเป็น ค่าเช่าพื้นที่ การวางโชว์สินค้า การสื่อสารการตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมาย หรือการทำตลาดต่างประเทศ เป็นต้น

  • ราคาสินค้าต่ำกว่าท้องตลาด เนื่องจากต้นทุนในการดำเนินธุรกิจออนไลน์ต่ำกว่าธุรกิจทั่วไป จึงสามารถตั้งราคาขายต่ำกว่าท้องตลาดได้ จึงเป็นจุดแข็งสำคัญที่ช่วยดึงดูดลูกค้าหลายรายให้หันมาสนใจมากขึ้น

  • ผู้ประกอบการมีทางเลือกในการจัดจำหน่ายสินค้าในหลายรูปแบบ เช่น จัดทำเว็บไซต์โดยเฉพาะ ขายผ่านเว็บ e-Marketplace ขายผ่านการประมูลออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละรูปแบบมีต้นทุนในการดำเนินการต่ำกว่าการมีหน้าร้าน โดยบางเว็บไซต์อาจไม่คิดค่าบริการหรือคิดค่าบริการไม่สูงในการนำสินค้าไปวางขาย อีกทั้งผู้ประกอบการสามารถทำการขายผ่านช่องทางออนไลน์และหน้าร้านปกติควบคู่กันไป เป็นการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้มากขึ้น

  • ความรวดเร็วในการสื่อสารทางการตลาดและการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ช่วยให้ทันต่อกระแสและตอบสนองตลาดได้เร็ว ซึ่งธุรกิจออนไลน์ถือได้ว่ามีความได้เปรียบอย่างมากเมื่อเทียบกับช่องทางการขายตามปกติ เนื่องจากสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งจะทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ตรงจุดมากขึ้น


จุดอ่อน (Weaknesses)

  • ความไม่ชำนาญด้านเทคโนโลยีอาจเป็นอุปสรรคสำหรับผู้ประกอบการ การทำธุรกิจออนไลน์ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีความรู้ในระดับเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบชำระเงินออนไลน์ การทำการตลาดออนไลน์ รูปแบบเว็บไซต์ ฯลฯ ผู้ประกอบการที่ไม่มีความรู้ด้านไอทีอาจมีความกังวลในการเลือกระบบออนไลน์มาเป็นเครื่องมือในการดำเนินธุรกิจได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้บริการบริษัทที่ปรึกษาและบริษัท Outsource เข้ามาช่วยดำเนินธุรกิจออนไลน์ได้

  • ข้อจำกัดด้านกลุ่มลูกค้า การตลาดออนไลน์มีกลุ่มเป้าหมายจำกัดกว่าการขายผ่านหน้าร้าน เนื่องจากมีลูกค้าบางกลุ่มเท่านั้นที่สนใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ เช่น กลุ่มนักเรียนนักศึกษา กลุ่มคนทำงานในเมือง เป็นต้น ยังมีผู้บริโภคอีกเป็นจำนวนมากที่มีข้อจำกัดเรื่องเทคโนโลยี หรือไม่ได้สนใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการสามารถเลือกทำการตลาดควบคู่กันไปทั้งในส่วนออนไลน์และแบบปกติ เพื่อให้ตอบสนองกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายขึ้น


โอกาส (Opportunities)

  • จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการแข่งขันของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ทำให้ราคาค่าบริการมีแนวโน้มถูกลงและความเร็วเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งแนวโน้มการเข้ามาของเทคโนโลยี 3G และ WiMAX ซึ่งจะทำให้จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ไร้สายเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งช่วยกระจายโอกาสการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไปสู่ต่างจังหวัดมากขึ้น ทำให้ธุรกิจออนไลน์มีโอกาสเติบโตตามจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น

  • ปัจจุบันเทคโนโลยีในการทำธุรกรรมออนไลน์มีความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยมากขึ้น โดยเฉพาะการชำระเงินออนไลน์ที่มีการพัฒนาระบบการตรวจสอบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต กฎหมายควบคุมธุรกิจบริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการดำเนินการออกเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Trustmark) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า การบังคับใช้ พ... การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ แนวโน้มการออกกฎหมายรับรองเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่จะช่วยรับรองการออกใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ (e-Invoice) และในอนาคตก็จะมี พ... หลักเกณฑ์และวิธีการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคาดว่าจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการและสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคมากขึ้น


อุปสรรค (Threat)

    • ปัญหาความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ ทั้งปัญหาความเชื่อมั่นในระบบการชำระเงินที่อาจต้องใช้บัตรเครดิตหรือการชำระเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ต การไม่ได้เห็นสินค้าจริงซึ่งทำให้ผู้บริโภคบางคนไม่มั่นใจว่าสินค้าที่ได้รับเป็นของจริง หรือไม่มั่นใจว่าผู้จำหน่ายสินค้าจะจัดส่งสินค้าให้ จากการสำรวจของ NECTEC พบว่า ปัญหาข้างต้นเป็นเหตุผลสำคัญที่สุดที่ทำให้ผู้บริโภคไม่ซื้อสินค้าและบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะปัจจุบันที่อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว

    • อัตราการใช้อินเทอร์เน็ตของไทยยังต่ำ โดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 23.2 ซึ่งถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น มาเลเซียมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 59.0 สิงคโปร์ประมาณร้อยละ 58.6 เป็นต้น ซึ่งในด้านหนึ่งอาจมองได้ว่าผู้ประกอบการยังมีโอกาสที่จะสามารถขยายตลาดได้อีกในอนาคต แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ถือเป็นข้อจำกัดในการทำตลาดของผู้ประกอบการ เนื่องจากจังหวัดที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดจะกระจุกตัวอยู่ในจังหวัดสำคัญของประเทศ เช่น กรุงเทพฯ นนทบุรี เชียงใหม่ ภูเก็ต เป็นต้น ซึ่งหากอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตไม่เพิ่มขึ้นและไม่กระจายตัวมากขึ้น ก็อาจเป็นอุปสรรคสำคัญในการขยายตลาดซื้อขายออนไลน์ไปสู่ต่างจังหวัด


    • ผู้บริโภคยังซื้อสินค้าและบริการที่มีราคาไม่สูง โดยจากการสำรวจของ NECTEC ผู้บริโภคจะเลือกซื้อสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ตในระดับราคาประมาณ 1,001-5,000 บาทมากที่สุด เป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 41.2 รองลงมาเป็นระดับราคาต่ำกว่า 1,000 บาท เป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 27.6 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความกังวลของผู้บริโภคที่ยังคงไม่เชื่อมั่นในการซื้อสินค้าออนไลน์ ทำให้ยังคงเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาไม่สูงนัก


จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าธุรกิจออนไลน์มีจุดแข็งตรงต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำ ทำให้สามารถตั้งราคาขายสินค้าได้ต่ำกว่าท้องตลาด รวมทั้งยังสามารถสื่อสารทางการตลาดได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับกระแสความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนอยู่ตลอด อย่างไรก็ตาม ธุรกิจออนไลน์ก็มีจุดอ่อนหลายประการเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความกังวลของผู้ประกอบการที่ไม่มีความรู้ด้านไอที หรือข้อจำกัดในการเข้าถึงลูกค้าได้เพียงบางกลุ่ม ตลอดจนผู้บริโภคในปัจจุบันยังมีความกังวลด้านความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการด้วย ดังนั้น ผู้ประกอบการที่จะเลือกใช้ระบบออนไลน์ในการดำเนินธุรกิจควรพิจารณาความเหมาะสมอย่างถี่ถ้วน คำนึงถึงโอกาสและข้อจำกัดของธุรกิจของตนให้ดีก่อนตัดสินใจ



สนใจสมัครสมาชิกและใช้บริการได้ฟรีที่ อาคารจามจุรีสแควร์ ชั้น 2 โทร. 0-2160-5203-4 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ksmecare.com




โดย ปกรณ์ พรรธนะแพทย์

รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย


ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตกลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ โดยเข้ามาช่วยลดต้นทุนและขั้นตอนดำเนินการ ทั้งในด้านของการดำเนินงานภายในองค์กร การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การตลาด การขาย และอื่นๆ โดยเฉพาะการทำธุรกิจออนไลน์ จนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหลายรายได้ปรับเปลี่ยนธุรกิจของตนไปสู่รูปแบบการทำธุรกิจออนไลน์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการบางส่วนยังสงสัยว่าธุรกิจออนไลน์เข้ามาช่วยลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจจริงหรือไม่ เนื่องจากการปรับรูปแบบการทำธุรกิจมาพึ่งพาระบบอินเทอร์เน็ตหรือออนไลน์มากขึ้นนั้นต้องมีการลงทุนด้านเครื่องมืออุปกรณ์และด้านทรัพยากรบุคคล นอกจากนี้ยังไม่ทราบถึงข้อดีและข้อเสียอย่างชัดเจน หากนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสมอาจไม่ช่วยให้ประหยัดต้นทุนได้อย่างที่คาดหวังไว้


  • ข้อดีและข้อเสียของธุรกิจออนไลน์


ธุรกิจออนไลน์เป็นแนวทางหนึ่งสำหรับการดำเนินธุรกิจ ซึ่งก็ย่อมต้องมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ก่อนที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะนำเอาระบบออนไลน์ไปใช้ในธุรกิจของตัวเอง จึงควรทราบถึงข้อดีและข้อเสียของธุรกิจออนไลน์เสียก่อน เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด โดยสามารถวิเคราะห์ด้วย SWOT Analysis ดังนี้


จุดแข็ง (Strengths)

  • ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำกว่าการเปิดหน้าร้านขายของตามปกติ ไม่ว่าจะเป็น ค่าเช่าพื้นที่ การวางโชว์สินค้า การสื่อสารการตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมาย หรือการทำตลาดต่างประเทศ เป็นต้น

  • ราคาสินค้าต่ำกว่าท้องตลาด เนื่องจากต้นทุนในการดำเนินธุรกิจออนไลน์ต่ำกว่าธุรกิจทั่วไป จึงสามารถตั้งราคาขายต่ำกว่าท้องตลาดได้ จึงเป็นจุดแข็งสำคัญที่ช่วยดึงดูดลูกค้าหลายรายให้หันมาสนใจมากขึ้น

  • ผู้ประกอบการมีทางเลือกในการจัดจำหน่ายสินค้าในหลายรูปแบบ เช่น จัดทำเว็บไซต์โดยเฉพาะ ขายผ่านเว็บ e-Marketplace ขายผ่านการประมูลออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละรูปแบบมีต้นทุนในการดำเนินการต่ำกว่าการมีหน้าร้าน โดยบางเว็บไซต์อาจไม่คิดค่าบริการหรือคิดค่าบริการไม่สูงในการนำสินค้าไปวางขาย อีกทั้งผู้ประกอบการสามารถทำการขายผ่านช่องทางออนไลน์และหน้าร้านปกติควบคู่กันไป เป็นการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้มากขึ้น

  • ความรวดเร็วในการสื่อสารทางการตลาดและการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ช่วยให้ทันต่อกระแสและตอบสนองตลาดได้เร็ว ซึ่งธุรกิจออนไลน์ถือได้ว่ามีความได้เปรียบอย่างมากเมื่อเทียบกับช่องทางการขายตามปกติ เนื่องจากสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งจะทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ตรงจุดมากขึ้น


จุดอ่อน (Weaknesses)

  • ความไม่ชำนาญด้านเทคโนโลยีอาจเป็นอุปสรรคสำหรับผู้ประกอบการ การทำธุรกิจออนไลน์ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีความรู้ในระดับเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบชำระเงินออนไลน์ การทำการตลาดออนไลน์ รูปแบบเว็บไซต์ ฯลฯ ผู้ประกอบการที่ไม่มีความรู้ด้านไอทีอาจมีความกังวลในการเลือกระบบออนไลน์มาเป็นเครื่องมือในการดำเนินธุรกิจได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้บริการบริษัทที่ปรึกษาและบริษัท Outsource เข้ามาช่วยดำเนินธุรกิจออนไลน์ได้

  • ข้อจำกัดด้านกลุ่มลูกค้า การตลาดออนไลน์มีกลุ่มเป้าหมายจำกัดกว่าการขายผ่านหน้าร้าน เนื่องจากมีลูกค้าบางกลุ่มเท่านั้นที่สนใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ เช่น กลุ่มนักเรียนนักศึกษา กลุ่มคนทำงานในเมือง เป็นต้น ยังมีผู้บริโภคอีกเป็นจำนวนมากที่มีข้อจำกัดเรื่องเทคโนโลยี หรือไม่ได้สนใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการสามารถเลือกทำการตลาดควบคู่กันไปทั้งในส่วนออนไลน์และแบบปกติ เพื่อให้ตอบสนองกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายขึ้น


โอกาส (Opportunities)

  • จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการแข่งขันของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ทำให้ราคาค่าบริการมีแนวโน้มถูกลงและความเร็วเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งแนวโน้มการเข้ามาของเทคโนโลยี 3G และ WiMAX ซึ่งจะทำให้จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ไร้สายเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งช่วยกระจายโอกาสการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไปสู่ต่างจังหวัดมากขึ้น ทำให้ธุรกิจออนไลน์มีโอกาสเติบโตตามจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น

  • ปัจจุบันเทคโนโลยีในการทำธุรกรรมออนไลน์มีความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยมากขึ้น โดยเฉพาะการชำระเงินออนไลน์ที่มีการพัฒนาระบบการตรวจสอบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต กฎหมายควบคุมธุรกิจบริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการดำเนินการออกเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Trustmark) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า การบังคับใช้ พ... การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ แนวโน้มการออกกฎหมายรับรองเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่จะช่วยรับรองการออกใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ (e-Invoice) และในอนาคตก็จะมี พ... หลักเกณฑ์และวิธีการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคาดว่าจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการและสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคมากขึ้น


อุปสรรค (Threat)

    • ปัญหาความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ ทั้งปัญหาความเชื่อมั่นในระบบการชำระเงินที่อาจต้องใช้บัตรเครดิตหรือการชำระเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ต การไม่ได้เห็นสินค้าจริงซึ่งทำให้ผู้บริโภคบางคนไม่มั่นใจว่าสินค้าที่ได้รับเป็นของจริง หรือไม่มั่นใจว่าผู้จำหน่ายสินค้าจะจัดส่งสินค้าให้ จากการสำรวจของ NECTEC พบว่า ปัญหาข้างต้นเป็นเหตุผลสำคัญที่สุดที่ทำให้ผู้บริโภคไม่ซื้อสินค้าและบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะปัจจุบันที่อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว

    • อัตราการใช้อินเทอร์เน็ตของไทยยังต่ำ โดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 23.2 ซึ่งถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น มาเลเซียมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 59.0 สิงคโปร์ประมาณร้อยละ 58.6 เป็นต้น ซึ่งในด้านหนึ่งอาจมองได้ว่าผู้ประกอบการยังมีโอกาสที่จะสามารถขยายตลาดได้อีกในอนาคต แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ถือเป็นข้อจำกัดในการทำตลาดของผู้ประกอบการ เนื่องจากจังหวัดที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดจะกระจุกตัวอยู่ในจังหวัดสำคัญของประเทศ เช่น กรุงเทพฯ นนทบุรี เชียงใหม่ ภูเก็ต เป็นต้น ซึ่งหากอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตไม่เพิ่มขึ้นและไม่กระจายตัวมากขึ้น ก็อาจเป็นอุปสรรคสำคัญในการขยายตลาดซื้อขายออนไลน์ไปสู่ต่างจังหวัด


    • ผู้บริโภคยังซื้อสินค้าและบริการที่มีราคาไม่สูง โดยจากการสำรวจของ NECTEC ผู้บริโภคจะเลือกซื้อสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ตในระดับราคาประมาณ 1,001-5,000 บาทมากที่สุด เป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 41.2 รองลงมาเป็นระดับราคาต่ำกว่า 1,000 บาท เป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 27.6 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความกังวลของผู้บริโภคที่ยังคงไม่เชื่อมั่นในการซื้อสินค้าออนไลน์ ทำให้ยังคงเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาไม่สูงนัก


จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าธุรกิจออนไลน์มีจุดแข็งตรงต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำ ทำให้สามารถตั้งราคาขายสินค้าได้ต่ำกว่าท้องตลาด รวมทั้งยังสามารถสื่อสารทางการตลาดได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับกระแสความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนอยู่ตลอด อย่างไรก็ตาม ธุรกิจออนไลน์ก็มีจุดอ่อนหลายประการเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความกังวลของผู้ประกอบการที่ไม่มีความรู้ด้านไอที หรือข้อจำกัดในการเข้าถึงลูกค้าได้เพียงบางกลุ่ม ตลอดจนผู้บริโภคในปัจจุบันยังมีความกังวลด้านความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการด้วย ดังนั้น ผู้ประกอบการที่จะเลือกใช้ระบบออนไลน์ในการดำเนินธุรกิจควรพิจารณาความเหมาะสมอย่างถี่ถ้วน คำนึงถึงโอกาสและข้อจำกัดของธุรกิจของตนให้ดีก่อนตัดสินใจ


สนใจสมัครสมาชิกและใช้บริการได้ฟรีที่ อาคารจามจุรีสแควร์ ชั้น 2 โทร. 0-2160-5203-4 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ksmecare.com


Written by :
พิราบขาว
 

Comments

B
i
u
Quote
Code
List
List item
URL
Name *
Code   
ChronoComments by Joomla Professional Solutions
Submit Comment
 
 

Login

Forgot your password? Create an account
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday1183
mod_vvisit_counterAll days1183

We have: 1183 guests online
Your IP: 3.138.69.101
Mozilla 5.0, 
Today: Nov 28, 2024

4321272