อีไอซีแนะเร่งเครื่องบัสไทย ดริฟท์รับโอกาสภาคบริการ |
Friday, 24 June 2016 10:38 | |||
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (อีไอซี) ออกบทวิเคราะห์ เรื่อง เร่งเครื่องบัสไทย ดริฟท์รับโอกาสภาคบริการ โดยระบุว่า ตลาดรถบัสไทยเป็นตลาดที่มีขนาดเล็กโดยมีเพียงสัดส่วนของรถบัสโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวเท่านั้นที่ยังคงเติบโตอยู่ และส่วนใหญ่เป็นรถบัสนำเข้าจากจีนซึ่งมีราคาถูกกว่ารถบัสที่ประกอบในประเทศอยู่มาก ทั้งนี้ ในด้านของผู้ประกอบการไทยยังคงต้องเผชิญกับปัญหาด้านต้นทุนของชิ้นส่วนสำคัญในการประกอบรถที่ต้องนำเข้าและมีราคาสูง อีไอซีมองว่าผู้ประกอบการไทยควรศึกษาความเป็นไปได้และมองหาแนวทางปรับกลยุทธ์เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในการที่จะคว้าโอกาสทางธุรกิจในภาคบริการ ตลาดรถบัสและรถเมล์ไทยเป็นตลาดที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับตลาดรถยนต์นั่ง โดยนับตั้งแต่ปี 2011 - 2015 มีการซื้อขายและจดทะเบียนรถใหม่เฉลี่ยประมาณ 1,500 คัน ต่อปี และเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนการจดทะเบียนสะสมในช่วงเวลาเดียวกันพบว่า มีการจดทะเบียนเพิ่มขึ้น 8,700 คันต่อปี รวมเป็น 300,000 คันในปัจจุบัน ทั้งนี้ ส่วนต่างระหว่างยอดขายและยอดจดทะเบียนกว่า 7,200 คันนั้นเป็นการนำรถเก่ามาดัดแปลงหรือปรับปรุงแล้วนำมาจดทะเบียน การที่รถเก่าได้รับความนิยมมากกว่าเป็นเพราะความแตกต่างอย่างมากระหว่างราคารถมือหนึ่งและรถมือสอง โดยรถมือหนึ่งมีราคาประมาณ 5-10 ล้านบาท ในขณะที่รถมือสองมีราคาประมาณ 0.3-2 ล้านบาท ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของโครงสร้าง (เช่น รถ 6 ล้อ 8 ล้อ และ 10 ล้อ) และอายุการใช้งาน
สัดส่วนของรถบัสโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวหรือรถโค้ชเพิ่มขึ้นจาก 34% ในปี 2011 เป็น 68% ในปี 2015 ในขณะที่รถโดยสารสาธารณะกลับมีสัดส่วนลดลงอย่างมาก ส่วนหนึ่งมาจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางของผู้ใช้บริการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล สะท้อนได้จากปริมาณผู้โดยสารรถเมล์ ขสมก ในปี 2015 ลดลงจากปี 2011 เฉลี่ยมากกว่า 1 แสนคนต่อวัน หรือคิดเป็น 7% ของจำนวนผู้โดยสารในแต่ละวัน โดยเปลี่ยนไปใช้บริการ BTS และ MRT หรือการเดินทางระยะไกลที่ผู้ให้บริการนิยมเลือกใช้รถตู้แทนรถบัสซึ่งมีความคล่องตัวในการให้บริการมากกว่า และมีค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุงที่ต่ำกว่า ทั้งนี้ ปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ความต้องการรถบัสโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น โดยนับจากปี 2010 เป็นต้นมา ปริมาณการนำเข้ารถบัสจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนในปัจจุบัน พบว่าสัดส่วนของยอดขายมากกว่า 50% เป็นรถบัสจีน และรถบัสญี่ปุ่น 18% และรถบัสยุโรป 15%
ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นผู้รับจ้างประกอบตัวถัง ด้วยตลาดที่มีขนาดเล็กและปริมาณต่อรุ่นที่น้อยมากจึงไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดการผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศ อีกทั้งข้อจำกัดทางด้านปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขาดแคลนแรงงานทักษะ การขาดแคลนวัตถุดิบประเภทเหล็กต้นน้ำ รวมถึงความสามารถด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จึงยังไม่ดึงดูดให้เกิดการลงทุน ทำให้ชิ้นส่วนสำคัญในการประกอบรถบัสหรือรถเมล์ส่วนใหญ่จำเป็นต้องนำเข้าจากญี่ปุ่น และยุโรปซึ่งมีราคาสูง อย่างไรก็ตาม ชิ้นส่วนสำคัญดังกล่าวนั้นยังเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เพราะคุณภาพของโครงสร้างรถช่วงล่างหรือ chassis มีความเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานในไทยซึ่งสามารถใช้งานได้ยาวนานมากกว่า 10 ปี อีกทั้งสามารถรื้อแล้วนำมาประกอบกับตัวถังใหม่ได้ อย่างไรก็ตาม มีผู้ประกอบการไทยบางรายพยายามลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาเพื่อผลิตรถบัสและรถเมล์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ให้ได้ แต่ขนาดของตลาดก็ยังเป็นข้อจำกัดอยู่ดี ทั้งนี้ ในมุมของผู้นำเข้ารถบัสและรถเมล์ซึ่งมีความได้เปรียบในเรื่องของการประหยัดต่อขนาดหรือการผลิตจำนวนมากโดยเฉพาะจากจีน ทำให้มีต้นทุนนำเข้าที่ต่ำและสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่ถูกกว่ารถที่ประกอบโดยผู้ประกอบการไทย
รถบัสจีนกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากผู้ประกอบการในภาคบริการโดยเฉพาะรถบัสโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว ในช่วงปี 2010 - 2015 พบว่าสัดส่วนการจดทะเบียนของรถบัสจีนเพิ่มขึ้น 34% เฉลี่ยต่อปี ซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตของปริมาณนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เพิ่มขึ้น 48% เฉลี่ยต่อปี ปัจจัยที่เพิ่มขึ้นนั้น นอกจากราคาของรถบัสจีนที่ถูกกว่าแล้ว การนำเข้ารถบัสจีนนั้นยังตรงตามเงื่อนไขของความตกลงเขตการค้าเสรี อาเซียน-จีน (FTA ASEAN-CHINA) ซึ่งทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีนำเข้าลดลงจาก 40% เหลือ 0% อีกด้วย ณ ปัจจุบัน รถบัสจีน 1 คันจะมีราคาอยู่ที่ราว 3-8 ล้านบาท ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดรถ อุปกรณ์ตกแต่ง และคุณสมบัติอื่นๆ ส่งผลให้ราคากลางในโครงการประมูลรถโดยสารสาธารณะหรือรถเมล์ 489 คันของ ขสมก ตามประกาศร่าง TOR ลดลงจากราคากลางเมื่อต้นปี 2014 โดยระบุราคากลางเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2016 อยู่ที่ 3.5 ล้านบาท/คัน จากเดิมอยู่ที่ 4.5 ล้านบาท/คัน
อีไอซีมองว่ามีโอกาสในธุรกิจภาคบริการและช่องทางในการปรับตัวภายใต้การแข่งขันที่มีปัจจัยด้านราคาเป็นหลัก โดยผู้ประกอบการที่ประกอบรถบัสสามารถสร้างความแตกต่างของสินค้าเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ เช่น สำหรับกลุ่มลูกค้าทั่วไปใช้การนำเข้าโครงสร้างรถช่วงล่างและชิ้นส่วนอื่นๆ ของจีนมาใช้แทนเพื่อลดต้นทุนและราคา แต่ยังคงสามารถใช้ชิ้นส่วนและวัสดุจากยุโรป หรือญี่ปุ่นเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังสามารถปรับตัวไปเป็นผู้ให้บริการในธุรกิจอื่นๆ เช่น บริการนำเที่ยว บริการด้านรถบัสเช่า หรือเสริมธุรกิจเป็นผู้นำเข้าชิ้นส่วนและอะไหล่รถบัสจากจีน รวมถึงให้บริการและซ่อมบำรุง โดยในปัจจุบันนั้นปริมาณของศูนย์บริการและอะไหล่ยังไม่เพียงพอต่อปริมาณรถบัสที่มีอยู่ตามภูมิภาค อีกทั้งลักษณะการใช้งานรถบัสในไทยมักจะเน้นการใช้งานยาวนานหลายปีจึงทำให้มีความต้องการในด้านของอะไหล่และการซ่อมบำรุงสูง
อีไอซีแนะผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรถบัสศึกษาโอกาสทางธุรกิจและช่องทางในการปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ เนื่องจากอุตสาหกรรมรถบัสในไทยเป็นลักษณะการรับจ้างประกอบช่วงล่างและตัวถัง โดยชิ้นส่วนสำคัญต่างๆ ยังต้องพึ่งพาการนำเข้า ทำให้เป็นไปได้ยากที่จะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาโดยตรง ดังนั้น ผู้ประกอบการควรที่จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน เช่น ปรับเปลี่ยนแหล่งนำเข้าชิ้นส่วนและวัสดุ การสร้างความแตกต่างภายในห้องผู้โดยสารด้วยการตกแต่ง หรือศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มช่องทางธุรกิจอื่นๆ บนห่วงโซ่ธุรกิจที่มีความใกล้เคียงกับความถนัดที่มีอยู่ อาทิ ปรับรูปแบบธุรกิจเป็นศูนย์บริการซ่อมบำรุงควบคู่ไปกับการประกอบรถเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและเป็นการกระจายความเสี่ยงในธุรกิจด้วย
++++++++++++++++++++++++++++++
Thai bus industry: speeding into services
The Thai bus market is small, with growth currently driven by buses for the tourism industry. Most buses are imported from China as they are much less expensive than their domestically assembled counterparts. Meanwhile, Thai bus manufacturers face cost-related issues due to high prices for key parts which have to be imported. EIC thinks business opportunities remain in the service sector. Businesses should look into this possibility and adjust strategies in order to boost competitiveness.
The market for buses in Thailand is small compared to the market for passenger cars. From 2011 to 2015 there were on average 1,500 new buses sold and registered per year. The number of plate registrations during the same period increased by 8,700 per year, resulting in 300,000 registered plates today. The difference between the number of new buses sold and new plate registrations, almost 7,200, stems from the popularity of the second-hand market, where buyers buy used buses, modify and refurbish them, then register for new plates. Used buses are popular due to their significant price advantage. A new bus costs anywhere between 5 and 10 million baht, whereas a used bus typically costs around 0.3-2 million baht. Prices depend on structural types (for example, 6 wheel, 8 wheel, or 10 wheel platforms) and, in the case of used buses, how long they have been in use.
In 2015, buses for tourism, or coaches, made up 68% of new bus sales, a significant increase from 34% in 2011. At the same time, sales of public transport buses fell noticeably. This partly stemmed from the changing behavior of riders in Bangkok and vicinity. For example, in 2015 the average daily number of Bangkok Mass Transit Authority (BMTA) riders fell by more than 100,000, or 7% of all daily riders. Many opted for the BTS or MRT rail systems. For long-distance travel service providers prefer vans as they allow more flexibility and are more cost effective in terms of maintenance. At the same time, the growing number of tourists resulted in more demand for tourist buses. Since 2010 Chinese bus imports have steadily increased. Today buses imported from China account for more than 50% of the market, compared to buses from Europe (15%) and Japan (18%).
Most Thai bus manufacturers provide vehicle body assembling service. Both the market and number of buses manufactured per type are small, and therefore insufficient for a viable domestic market for the manufacturing of parts. Other limitations include insufficient skilled labor, insufficient raw material (upstream steel) as well as low capacity in design and product development, which makes it difficult for manufacturers to attract investors. Furthermore, the majority of key parts still have to be imported from Japan or Europe. They are expensive yet remain popular among buyers due to the high quality of the chassis structure. These parts are deemed suitable for use in Thailand, where buses typically remain in use for more than 10 years. The chassis can also be dismantled and re-assembled with a new body. On the other hand, although some Thai manufacturers have invested in research and development in order to produce commercial electric buses, the size of the market still poses a challenge. In this regard, bus importers hold an advantage thanks to the cost saved per unit and lower prices due to mass production, especially in China.
Chinese buses, especially tourist coaches, are increasingly popular among service operators. From 2010 to 2015 registrations of new Chinese buses grew by 34% on average per year, corresponding with the growing number of tourists, especially from China, which has risen by 48% per year on average. Moreover, Chinese bus imports meet the conditions of the ASEAN-China Free Trade Agreement, exempting buyers from the 40% import tax. Presently a Chinese bus costs approximately 3-8 million baht, depending on size, styling, accessories, and other features. As such, in the draft TOR for the purchasing of 489 NGV buses by the BMTA the specified median price fell from 4.5 million baht/vehicle in early 2014 to 3.5 million baht/vehicle on 11 March 2016.
In a market environment determined by pricing competition, EIC sees opportunities remaining in providing service. Bus assemblers can differentiate their products in order to penetrate new customer groups. For example, they can import chassis and other parts from China in order to cut costs as well as prices, while continuing to use parts and materials from Europe or Japan for the high-end market which still prefers the best quality parts. Bus manufacturers can also become service providers in new markets. For example, they can provide tours as well as buses for rent. They may also consider re-selling imported parts from China and/or providing maintenance and repair service. Outside of Bangkok there are not enough service centers and parts availability, especially compared to the number of buses on the road. In addition, as buses in Thailand tend to be used for many years, there is strong demand for parts and maintenance service.
EIC suggests that bus manufacturers explore new business opportunities and adjust strategies accordingly. Because Thai bus manufacturers mainly provide chassis and vehicle body assembly service while key parts still have to be imported, it is difficult for them to compete directly on price. Manufacturers therefore should adjust their strategies to meet the demands of today's marketplace. Strategies include importing parts and materials from different vendors, differentiating their buses through interior styling, or looking into other possibilities within a related business chain that would draw on their existing expertise, such as providing service and maintenance centers in addition to vehicle assembly, in order to boost competitiveness and spread risk.
|
Today | 1612 | |
All days | 1612 |
Comments