Forgot your password? Create an account
  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
News

Stockwave Online กระแสหุ้นออนไลน์ หุ้น หลักทรัพย์ การเงิน ข่าวเศรษฐกิจ

Home Hot News เศรษฐกิจไทยไตรมาส2โตเกินคาด อีไอซีมองทั้งปีโต3.6%
เศรษฐกิจไทยไตรมาส2โตเกินคาด อีไอซีมองทั้งปีโต3.6% PDF Print E-mail
Tuesday, 22 August 2017 08:39

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (อีไอซี) ออกบทวิเคราะห์ เรื่อง เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 โตเกินคาด อีไอซีมองทั้งปีโต 3.6%YOY โดยระบุว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษ ฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานตัวเลข GDP ของไทยในไตรมาส 2 ปี 2017 ขยายตัว 3.7%YOY (เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนห น้า) หรือเติบโต 1.3% หากเทียบกับไตรมาสก่อนแบบปรั บฤดูกาล ทำให้ GDP ของไทยในครึ่งปีแรกขยายตัวได้ที่ 3.5%YOY

การส่งออกสินค้า – การท่องเที่ยวหนุนเศรษฐกิ จไทยเติบโตต่อเนื่อง การส่งออกสินค้าขยายตัวต่อเนื่อ งที่ 5.2%YOY เติบโตสูงสุดในรอบกว่า 4 ปี จากการขยายตัวในทุกหมวดสินค้า และเติบโตได้ดีในเกือบทุกตลาดส่ งออก ยกเว้นการส่งออกรถยนต์นั่งไปยัง ตลาดตะวันออกกลาง ทั้งนี้ การฟื้นตัวของภาคการส่งออกได้รั บแรงสนับสนุนจากทั้งปัจจัยด้านร าคาและปริมาณ โดยราคาน้ำมันดิบโลกที่ยังเติบโ ตในไตรมาส 2 ส่งผลให้การส่งออกสินค้าที่เกี่ ยวเนื่องกับราคาน้ำมันเติบโตสูง ถึง 27%YOY นอกจากนี้ ภาคการผลิตโลกที่ฟื้นตัวทำให้คว ามต้องการสินค้าอุตสาหกรรมหลักจ ากไทย ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์และเครื่อ งใช้ไฟฟ้า เติบโตตามไปด้วย ในขณะเดียวกัน ภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเ นื่องภายหลังจากการปราบปรามทั วร์ผิดกฎหมายและการกลับมาของนั กท่องเที่ยวชาวรัสเซีย ส่งผลให้การส่งออกภาคบริการขยาย ตัวกว่า 8.8%YOY เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ เติบโตเพียง 3.2%YOY ทั้งนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาส 2 เพิ่มขึ้นกว่า 7.6%YOY ขณะที่นักท่องเที่ยวจีนและรั สเซียเพิ่มขึ้น 0.1%YOY และ 19.2%YOY ตามลำดับ

การบริโภคภาคเอกชนกระจุกตัว สะท้อนกำลังซื้อโดยรวมไม่เข้ มแข็ง โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ 3.0% ชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน ซึ่งปัจจัยสนับสนุนหลักยังคงมาจ ากการบริโภคสินค้าคงทนโดยเฉพาะร ถยนต์ที่ขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่ องที่ 13.6%YOY ส่วนหนึ่งเป็นเพราะค่ายรถยนต์ต่ างๆ มีการออกรายการส่งเสริมการขายใน ประเทศอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การบริโภคสินค้าไม่คงทนค่ อนข้างทรงตัวจากไตรมาสก่อน เช่น อาหารและเครื่องดื่ม เสื้อผ้า เป็นต้น สะท้อนว่ากำลังซื้อของผู้มีรายไ ด้น้อยในประเทศยังไม่ได้ฟื้นตัว ชัดเจนนัก

การลงทุนภาคเอกชนกลับมาฟื้นตัวไ ด้เกินคาด ขณะที่การลงทุนภาครัฐหดตัว การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ 3.2%YOY โดยเป็นการขยายตัวในเกือบทุกหมว ด ทั้งการลงทุนก่อสร้างที่อยู่ อาศัยโดยเฉพาะคอนโดมิเนียม และการก่อสร้างที่ไม่ใช่ที่อยู่ อาศัย อาทิ โรงแรมและโรงพยาบาล รวมถึง การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจัก รก็กลับมาขยายตัวได้ อย่างไรก็ตาม การลงทุนก่อสร้างโรงงานอุตสาหกร รมยังลดลงต่อเนื่องที่ 9.1%YOY สะท้อนว่าภาคการผลิตยังไม่ได้ฟื้ นตัวมากนัก ขณะที่การลงทุนภาครัฐหดตัวลงเป็ นครั้งแรกในรอบ 9 ไตรมาส ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเร่งเบิ กจ่ายไปในช่วงก่อนหน้านี้แล้วแล ะไม่ได้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิ จเพิ่มเติมในช่วงไตรมาส 2 หลังมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาด เล็กได้เสร็จสิ้นโครงการไปแล้ว

อีไอซีปรับประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2017 เติบโต 3.6% จากเดิมที่ 3.4% ตามมุมมองต่อเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้ น ซึ่งช่วยหนุนการส่งออกสินค้าให้ ฟื้นตัวได้ต่อเนื่องในช่วงที่เห ลือของปี เศรษฐกิจคู่ค้าหลักทั้ง สหรัฐฯ ยูโรโซน ญี่ปุ่น และจีน ที่มีแนวโน้มเติบโตดีขึ้นตลอดปี 2017 และความกังวลทางการเมืองในยุโรป ที่ลดลง จะช่วยเสริมความเชื่อมั่นให้กับ การค้าและการลงทุนและส่งผลต่ อเนื่องถึงความต้องการสินค้าอุ ตสาหกรรมหลักจากไทยให้ฟื้นตั วได้ต่อในช่วงที่เหลือของปี อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ ปรับตัวลดลงอาจทำให้การส่งออกสิ นค้าที่เกี่ยวเนื่องไม่สามารถขย ายตัวได้สูงเทียบเท่ากับในช่วงค รึ่งปีแรก อีกทั้งค่าเงินบาทที่แข็งค่ากว่ าประเทศคู่แข่งในภูมิภาคอาจกระท บความสามารถในการแข่งขันทางด้าน ราคาของผู้ส่งออก โดยเฉพาะสินค้าโภคภัณฑ์ นอกจากนี้ นโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ยังคงเป็นอีกความเสี่ยงสำคัญของ การค้าโลกที่ต้องติดตาม

กำลังซื้อของผู้มีรายได้น้อยมีแ นวโน้มอ่อนแอ หวังแรงกระตุ้นภาครัฐช่วยหนุน โดยกำลังซื้อของภาคครัวเรือนในป ระเทศยังค่อนข้างอ่อนแอ เห็นได้จากตัวเลขการจ้างงานในช่ วงครึ่งแรกของปีหดตัวลง 0.2%YOY โดยเฉพาะการจ้างงานในภาคการผลิต ลดลงถึง 3%YOY แสดงให้เห็นว่าการฟื้นตัวของการ ส่งออกอาจไม่ได้ส่งผ่านไปสู่การ จ้างงานในอุตสาหกรรมต่างๆ มากนัก เนื่องจากอุตสาหกรรมที่ได้รับผล ดีจากการส่งออกส่วนใหญ่เป็นอุตส าหกรรมที่ใช้แรงงานน้อย นอกจากนี้ รายได้ภาคเกษตรก็มีแนวโน้มชะลอต ามราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดที่เริ่ มปรับตัวลดลงจากในช่วงต้นปี เช่น ราคายาง ราคามันสำปะหลัง ราคาปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ทั้งนี้ มาตรการภาครัฐจะเข้ามาเป็ นแรงสนับสนุนอุปสงค์ในประเทศที่ สำคัญในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งเม็ดเงินอัดฉีดจากงบกลางปี 2017 มูลค่า 1.9 แสนล้านบาทซึ่งจะกระจายสู่พื้ นที่จังหวัดต่างๆ มากขึ้น และมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้ น้อยตามโครงการลงทะเบียนเพื่ อสวัสดิการแห่งรัฐที่จะเริ่ มแจกจ่ายในเดือนตุลาคม

จับตาเงินบาทแข็งค่ากว่าสกุลเงิ นภูมิภาคกระทบการส่งออกสินค้า โดยเฉพาะสินค้าโภคภัณฑ์ ความเสี่ยงสำคัญในช่วงที่เหลือข องปีคือ เงินบาทที่แข็งค่ามากที่สุดในเอ เชียในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งอาจกระทบความสามารถในการแข่ งขันทางด้านราคาของผู้ส่งออก ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่าสินค้าที่ไทยส่ งออกคล้ายกับกลุ่มประเทศในเอเชี ย และมีตลาดส่งออกหลักเดียวกัน คือ สินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะ ข้าวและยางพารา โดยเงินบาทที่แข็งค่ายังมีส่วนก ดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในประเทศ เนื่องจาก ราคาสินค้าเกษตรในประเทศมี แนวโน้มลดต่ำลงตามส่วนต่างอั ตรากำไรขั้นต้นของผู้ส่งออกที่ ลดลงจากเงินบาทที่แข็งค่า ดังนั้น เงินบาทที่แข็งค่าเป็นระยะเวลาน านอาจส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าเก ษตรในประเทศและกำลังซื้อในประเท ศในระยะต่อไปอีกด้วย

Comments

B
i
u
Quote
Code
List
List item
URL
Name *
Code   
ChronoComments by Joomla Professional Solutions
Submit Comment
 
 

Login

Forgot your password? Create an account
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday51751
mod_vvisit_counterYesterday44435
mod_vvisit_counterAll days166351700

We have: 732 guests online
Your IP: 44.213.80.203
 , 
Today: Mar 28, 2024

8174632