Cryptocurrency โอกาส หรือ ฟองสบู่? |
![]() |
![]() |
![]() |
Thursday, 16 November 2017 08:47 | |||
EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ ออกบทวิเคราะห์ เรื่อง Cryptocurrency โอกาส หรือ ฟองสบู่? โดยระบุว่า · หากพูดถึง cryptocurrency หรือเงินดิจิทัล หลายคนอาจคุ้นหูกับสกุลเงินอย่าง Bitcoin ที่ราคาพุ่งทะยานขึ้นมาเรื่อยๆ จนทุบสถิติ ทำ New High สูงกว่า 7,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ 1 Bitcoin ในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา หรือมีราคาเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 แสนเท่า นับตั้งแต่มีการเริ่มใช้สกุลเงินนี้มาในปี 2009 ความร้อนแรงของปรากฏการณ์ครั้งนี้สร้างคำถามให้กับหลายฝ่ายว่าสิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่สร้างความสั่นคลอนให้กับสกุลเงินแบบดั้งเดิมหรือไม่ หรือจะเป็นเพียงฟองสบู่ที่เกิดจากการเก็งกำไรของนักลงทุนบางกลุ่มที่สามารถรับความเสี่ยงได้สูงเท่านั้น? · แม้ความต้องการสกุลเงินดิจิทัลจะเพิ่มขึ้นมาอย่างท่วมท้น แต่อีไอซีมองว่า cryptocurrency ยังต้องเผชิญกับความท้าทายอีกหลายอย่าง ทั้งความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและมุมมองของหน่วยงานกำกับดูแลของแต่ละประเทศ ทำให้โอกาสที่คนทั่วไปจะนำมาใช้ในวงกว้างอาจไม่ง่ายนัก อย่างไรก็ดี แนวคิดของ cryptocurrency อย่างเทคโนโลยี blockchain ที่เป็นรากฐานของ bitcoin นับว่ามีศักยภาพและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรต่างๆ เพื่อให้ขั้นตอนการทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด เงินดิจิทัล (cryptocurrency) คือ สกุลเงินที่ถูกสร้างขึ้นบนระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีลักษณะเด่นคือจะไม่มีตัวกลางคอยควบคุมเหมือนสกุลเงินแบบดั้งเดิม (fiat currency) โดยผู้สร้างเงินแต่ละสกุลจะออกแบบ การได้มาของเงิน กำหนดปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และวิธีการใช้งานตามต้องการ ทั้งนี้ ข้อมูลธุรกรรมต่างๆ จะถูกเปิดเผยให้ทุกคนในระบบสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งถือเป็นการยกระดับความปลอดภัยและสร้างความโปร่งใสให้กับเงินในระบบด้วย ในบรรดา cryptocurrency ทั้งหมด Bitcoin คือเงินสกุลแรกที่ถูกคิดค้นขึ้น และกำลังเป็นกระแสที่คนทั่วโลกต่างจับตามองจากราคาที่พุ่งสูงขึ้นอย่างร้อนแรงกว่า 600% นับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2017 โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากกลุ่มคนทั่วไปที่เล็งเห็นประโยชน์ของสกุลเงินดิจิทัลและบรรดานักลงทุนที่เข้ามาเก็งกำไรค่าเงิน ทั้งนี้ Bitcoin มีจุดเด่นที่เหนือกว่าสกุลเงินแบบดั้งเดิมในหลายๆ ด้าน เช่น การโอนเงินระหว่างประเทศที่รวดเร็วขึ้น เนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางคอยยืนยันการทำธุรกรรม ส่งผลให้การโอนเงินเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาราว 10 นาที ซึ่งรวดเร็วกว่ารูปแบบเดิมที่ใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 วัน นอกจากนี้ Bitcoin ยังมีความปลอดภัยสูงอีกด้วย เนื่องจากผู้ที่อยู่ในระบบจะมีฐานข้อมูลชุดเดียวกัน และรับรู้ข้อมูลธุรกรรมที่เกิดขึ้นแบบ real-time จึงทำให้การแก้ไขข้อมูลหรือโจมตีระบบเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก ความนิยมของ Bitcoin ส่งผลให้เกิด cryptocurrency ใหม่ตามมามากกว่าหนึ่งพันสกุล โดยได้มีการต่อยอดให้มีคุณสมบัติที่หลากหลายและตอบโจทย์การใช้งานมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Ether ซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องของการประยุกต์ใช้ smart contracts เพื่อกำหนดเงื่อนไขในการทำธุรกรรม เช่น การใส่เงื่อนไขให้ชำระค่าสินค้าก็ต่อเมื่อมีการยืนยันว่าได้รับสินค้าแล้ว หรือการเคลมเงินประกันการเดินทางอัตโนมัติเมื่อเครื่องบินดีเลย์ โดยที่ไม่ต้องทำเรื่องขอเอาเงินประกันเหมือนในปัจจุบัน เป็นต้น ในขณะที่ Ripple มีเป้าหมายชัดเจนในการเป็นสกุลเงินสำหรับการโอนเงินระหว่างประเทศ เพื่อให้การโอนเงินมีความปลอดภัยและรวดเร็วมากขึ้นภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วินาที โดยปัจจุบัน ทั้งสอง cryptocurrency เริ่มได้รับความสนใจจากนักลงทุนและสถาบันการเงินมากขึ้น เนื่องจากมีประโยชน์ที่เห็นได้ชัดและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย ส่งผลให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 3,000% จากต้นปี 2017 และทำให้สกุลเงินทั้งสองมีมูลค่าคิดเป็นสัดส่วนกว่า 20% ของตลาด cryptocurrency ทั้งหมดอีกด้วย ในขณะที่ Bitcoin ยังมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่ง และที่เหลือเป็นสกุลอื่นๆ อย่างไรก็ตาม อีไอซีมองว่าโอกาสที่ cryptocurrency จะเข้ามาแทนที่เงินสกุลดั้งเดิมอาจไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก เนื่องจากข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน เช่น มูลค่าตลาดที่ยังเล็กและความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน โดยปัจจุบัน cryptocurrency ยังมีมูลค่าตลาดที่เล็กมาก โดยมีขนาดเล็กกว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 8 เท่า หรือเล็กกว่าสินทรัพย์อย่างทองคำถึง 42 เท่า อีกทั้งยังมีราคาที่ผันผวนสูงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักในระบบเศรษฐกิจอย่างดอลลาร์สหรัฐฯ ยูโร เยน และหยวน โดยตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ค่าเงินดิจิทัลอย่าง Bitcoin, Ether หรือ Ripple มีโอกาสเหวี่ยงขึ้นลงได้สูงสุดถึง 14% ภายในหนึ่งวัน ในขณะที่เงินสกุลหลักมีความผันผวนไม่เกิน 0.5% ส่งผลให้การนำ cryptocurrency ไปใช้งานในวงกว้างยังคงไม่ได้รับความเชื่อมั่นนัก สะท้อนให้เห็นจากจำนวนร้านค้าที่รับชำระเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัลและอัตราผู้ใช้งานที่ยังมีจำนวนไม่มากถึงแม้เทคโนโลยีดังกล่าวจะถูกสร้างขึ้นมาเป็นระยะเวลา 8 ปีแล้วก็ตาม ทั้งนี้ จากการสำรวจร้านค้าออนไลน์ขนาดใหญ่ 483 รายของ Morgan Stanley พบว่าจำนวนร้านค้าที่รับชำระด้วยสกุลเงินดิจิทัลลดลงจาก 5 รายในไตรมาสแรก ปี 2016 เหลือเพียง 3 รายในไตรมาสที่สองของปีนี้ ในขณะที่ร้านค้าส่วนใหญ่ยังคงรับชำระเงินผ่าน Visa, Master Card หรือ PayPal เป็นหลักมากกว่า มุมมองของภาครัฐและธนาคารกลางในแต่ละประเทศยังถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายสำคัญต่อความเชื่อมั่นของ cryptocurrency โดยปัจจุบัน ประเทศที่มองว่า cryptocurrency เป็นสกุลเงินทางเลือกและยอมให้ใช้อย่างเป็นทางการมีจำนวนไม่มากนัก อาทิ ญี่ปุ่นซึ่งอนุญาตให้ใช้ Bitcoin เป็นหนึ่งในรูปแบบการชำระเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงมีการออกใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจแก่ผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล อย่างไรก็ดี ประเทศส่วนใหญ่ยังไม่มีการออกกฎระเบียบที่ชัดเจนเนื่องจากมองว่า cryptocurrency เป็นเพียงสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่มีมูลค่าในตัวเอง ยิ่งไปกว่านั้น บางประเทศกลับมีความเคลื่อนไหวและการส่งสัญญาณในเชิงลบอีกด้วย เช่น ภาครัฐของจีนที่สั่งห้ามกิจกรรมการระดมทุนผ่านสกุลเงินดิจิทัล (Initial Coin Offering: ICO) และสั่งปิดบริษัทที่ให้บริการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล ด้านหน่วยงานกำกับดูแลของไทยยังไม่มีการควบคุมและกำกับดูแล cryptocurrency อย่างเป็นทางการ แต่มีมุมมองในเชิงบวกต่อการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินรูปแบบใหม่ (FinTech) โดยธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่มีการรองรับ cryptocurrency ให้เป็นสกุลเงินที่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย และมีข้อแนะนำให้ประชาชนตระหนักถึงความเสี่ยงของการถือครองสกุลเงินดิจิทัล อย่างไรก็ตาม หน่วยงานกำกับดูแลของไทยยังคงให้ความสนใจในเทคโนโลยีเบื้องหลังของ cryptocurrency อย่าง blockchain ที่มีจุดเด่นด้านการตรวจสอบข้อมูลอย่างโปร่งใสมากกว่า รวมไปถึงพัฒนากฎระเบียบเพื่อสนับสนุนนวัตกรรมทางการเงินอย่างจริงจัง เช่น การสร้าง regulatory sandbox เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ทดสอบผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคธุรกิจในการลงทุนเพื่อศึกษาและพัฒนาการให้บริการโดยใช้เทคโนโลยีเหล่านี้มากขึ้น อีไอซีประเมินว่าการพัฒนา cryptocurrency เพื่อใช้ในสถาบันการเงินและภาครัฐมีโอกาสเกิดขึ้นสูงกว่าการใช้งานของบุคคลทั่วไป โดยสถาบันการเงินรายใหญ่หลายแห่งได้เริ่มพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของตัวเองเพื่อใช้ในการทำธุรกรรมของธนาคาร เช่น Citi group และ MUFG ในขณะที่ภาครัฐก็มีแนวโน้มพัฒนาสกุลเงินของแต่ละประเทศเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้จ่ายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เช่น ญี่ปุ่น จีน และรัสเซีย ซึ่งจะช่วยให้ภาคธุรกิจและภาครัฐสามารถลดต้นทุนการทำธุรกรรมและการบริหารจัดการลงได้จำนวนมาก อีไอซีมองว่าเทคโนโลยีเบื้องหลังของ cryptocurrency อย่าง blockchain และ smart contracts มีศักยภาพและประโยชน์สูงต่อการนำมาประยุกต์ใช้กับภาคธุรกิจในอนาคต โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการทำงานที่ต้องมีการตรวจสอบและยืนยันข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กรต่างๆ ได้อย่างมีนัยสำคัญ เช่น 1) การนำไปใช้บันทึกประวัติการใช้งานหรือซ่อมบำรุงเครื่องบินให้การตรวจสอบข้อมูลระหว่างการซื้อขายมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2) การบันทึกข้อมูลการรักษาพยาบาลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์โดยที่ยังสามารถกำหนดระดับของผู้ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ และ 3) การติดตามสถานะและคุณภาพของสินค้าโดยเฉพาะอาหารสดแบบเรียลไทม์ เป็นต้น ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ The Rise of Cryptocurrencies: Massive Opportunity or Speculative Hype? · When it comes to cryptocurrencies, or digital currencies, many people may be familiar with Bitcoin, whose value rose above USD 7,000 per Bitcoin unit during November 2017. Prices for Bitcoin have overwhelmingly multiplied – over 100,000 times face value since the start of this currency in 2009, reflecting the sharp growth in demand for Bitcoin globally. · EIC sees cryptocurrencies still facing a variety of challenges, both from wild exchange rate fluctuations and conflicting responses from regulators throughout the world, making widespread adoption difficult. Yet cryptocurrencies and related technologies hold many benefits that can facilitate the infrastructure of both the governmental and private sectors. Cryptocurrencies hold a lot of potential to transform not just monetary transactions, but also to make organizational processes quicker and more efficient. Cryptocurrencies are a form of a digital money created on computer systems. Their dominant feature is that there are no third-parties or middlemen controlling the currency, unlike traditional fiat currencies. The developers of each cryptocurrency can design their own systems, starting from how to acquire the money, how much money will circulate in the system, and how to use it. Each cryptocurrency is based on decentralized and distributed tracking of currency movements, making all transactions visible to anyone in the network, which in turn enhances the security and transparency of data. Of all the cryptocurrencies, Bitcoin is the first to have been invented. With the Bitcoin market heating up over 600% since the beginning of 2017, people around the world have their eyes on Bitcoin’s phenomenal growth. This growth is driven primarily by rising demand, both from people who are starting to awaken to the use of cryptocurrencies, and from investors looking to profit from trades. Bitcoin has outperformed traditional currencies in many respects, such as enabling faster remittances. Since Bitcoin does not require intermediaries to confirm transactions, payments made via Bitcoin can be completed within ten minutes or so. Bitcoin is also very secure. With everyone in the Bitcoin network working from real-time transactional data and the same database, it is difficult to modify transaction data or an attack on the system to occur. The popularity of Bitcoin has resulted in over a thousand other newly-invented cryptocurrencies. Each of these new currencies contain enhancements offering a variety of features and facilitating more real-life applications. For example, Ether applies smart contracts so that transaction conditions can be specified. Merchants can opt to process payments on the condition that the goods have been marked as delivered. Insurance claims can be automatically filed when a plane is delayed, saving passengers the trouble of filing such claims later. Another cryptocurrency, Ripple, has been designed as a remittance currency, enabling safer remittances within just seconds. These two cryptocurrencies are currently getting increased attention from investors and financial institutions because they provide obvious benefits that can be applied in a variety of scenarios. As a result, their price has risen more than 3,000% since the beginning of 2017. Both currencies together are now worth more than 20% of the cryptocurrency market, with Bitcoin accounting for more than half of the market, and the rest of the market share being belonging to other cryptocurrencies. Despite all the advantages, EIC still believes that replacing traditional currencies with cryptocurrencies will not be easy. Cryptocurrencies still face limitations, such as small market caps and high exchange rate fluctuations. Currently the total market value of cryptocurrencies is 8 times less than the number of US dollars in circulation and 42 time less than the value of gold. Cryptocurrencies also reveal high volatility when compared to the world’s major currencies, such as the US dollar, Euro, Japanese Yen, or Chinese Yuan. Since the beginning of the year top cryptocurrencies like Bitcoin, Ether, and Ripple experienced swings of up to 14% within a day while the world’s major currencies fluctuated at most by only 0.5% per day. This trend hinders the widespread adoption of cryptocurrencies. This is reflected in the small number of stores accepting payment in cryptocurrencies and very low user rates, though cryptocurrencies were created over 8 years ago. A recent Morgan Stanley study showed that out of 483 large online stores, the number accepting cryptocurrencies fell from five in the first quarter of 2016 to just three in the second quarter of this year. This demonstrates that cryptocurrencies still have a long way to go toward becoming widely used like other online payment methods such as Visa, Master Card or PayPal. The view of the government and central banks in each country is also an important challenge to confidence in cryptocurrencies. At present, there are still very few countries that recognize cryptocurrencies as official currencies and allow them to be used formally. One such country is Japan, which has legalized Bitcoin as a legitimate form of payment and has also issued business licenses to those who operate cryptocurrency exchanges. However, most countries around the world have not yet issued formal regulations since they view cryptocurrencies as digital assets that have no intrinsic value. Moreover, some countries are moving in the opposite direction and sending out negative signals, such as the Chinese government's ban on initial coin offerings (ICOs) and ordering the shutdown of cryptocurrency exchanges. Thai regulatory authorities have not yet issued official statements controlling the use of cryptocurrencies. However, they have shown a positive outlook towards the development of FinTech and financial innovations. Currently, Thai banks have not yet authorized the use of cryptocurrencies as legal payment schemes. They have also issued warnings about the risks involved in holding cryptocurrencies. Yet Thai regulatory authorities continue to pay close attention to related technologies, such as Blockchain, which provide additional data transparency. Over the past few years, Thai regulators have shown very positive views toward FinTech, issuing regulations to support financial innovation and even creating regulatory sandboxes to enable entrepreneurs to test out new financial products prior to legalization. Such measures have influenced the business sector to invest in these studies and develop services using these technologies. EIC estimates that targeted development of cryptocurrency for use by the financial sector and governmental institutions is more likely to occur soon than the widespread use of cryptocurrency among individuals. Many major financial institutions such as Citi Group and MUFG have begun to develop their own cryptocurrencies for internal use, while governments are more likely to develop their own cryptocurrencies to push people toward electronic payment, especially in countries like Japan, China , and Russia. This will enable businesses and governments to vastly reduce their transaction and management costs. EIC views supporting technologies such as blockchain and smart contracts as having strong potential and benefits that can be applied to the business sector in the future. These technological features can be applied to work processes that require verification and validation, helping to significantly reduce work time and increase efficiency for many organizations such as by: 1) Maintaining a history of aircraft use and repairs to quicken the sales processes for each aircraft; 2) Keeping a log of an individual’s medical records for use in research and analysis whilst limiting access to information to authorized parties, and 3) Real time tracking of the status and quality of goods and products being transported, especially fresh foods and perishables.
|
![]() | Today | 1560 |
![]() | All days | 1560 |
Comments