Forgot your password? Create an account
  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
News

Stockwave Online กระแสหุ้นออนไลน์ หุ้น หลักทรัพย์ การเงิน ข่าวเศรษฐกิจ

Home Hot News ผลวิจัยของอเด็คโก้ กรุ๊ป คาดสถานที่ทำงานทั่วโลกเปลี่ยนหลังโควิด-19
ผลวิจัยของอเด็คโก้ กรุ๊ป คาดสถานที่ทำงานทั่วโลกเปลี่ยนหลังโควิด-19 PDF Print E-mail
Friday, 03 July 2020 10:24

ผลวิจัยเผยธุรกิจและพนักงานต้องการความยืดหยุ่นมากขึ้น ขณะที่มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการให้ค่าตอบแทนตามชั่วโมงทำงาน และพนักงานต้องการผู้บริหารที่มีความใส่ใจ

- พนักงานต้องการความยืดหยุ่นมากขึ้นหลังวิกฤตโควิด โดยพนักงานทั่วโลกอยากทำงานที่ออฟฟิศควบคู่กับทำงานจากระยะไกลอย่างละครึ่ง

- มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับสัญญาจ้างที่ให้ค่าตอบแทนตามชั่วโมงทำงาน โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 69% มองว่าสัญญาจ้างควรให้ค่าตอบแทนตามผลงานมากกว่าชั่วโมงทำงาน

- การล็อกดาวน์ทำให้พนักงานมีทักษะดิจิทัลมากขึ้นอย่างไม่คาดคิด โดยผู้ตอบแบบสำรวจหกในสิบ (61%) ระบุว่ามีความรู้เรื่องเทคโนโลยีมากขึ้น ขณะที่สองในสาม (69%) ต้องการเพิ่มทักษะดิจิทัลอีกหลังสถานการณ์คลี่คลาย

- บรรดาผู้บริหารต้องพัฒนาตัวเองให้มีความฉลาดทางอารมณ์มากขึ้น แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน โดยมีไม่ถึงครึ่งที่พร้อมช่วยเหลือพนักงานในทุก ๆ ด้านท่ามกลางการแพร่ระบาด

ผลวิจัยใหม่ล่าสุดจากอเด็คโก้ กรุ๊ป (Adecco Group) เผยให้เห็นว่า การแพร่ระบาดของโควิดส่งผลให้ทัศนคติและความคาดหวังของพนักงานและผู้บริหารเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ โดยทั้งสองฝ่ายอยากให้มีการเปลี่ยนแปลงแบบถาวรในส่วนของวิธีการและสถานที่ทำงาน ความสัมพันธ์ในที่ทำงาน และทักษะในการรับมืออนาคต

อเด็คโก้ กรุ๊ป บริษัทที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลชั้นนำระดับโลก เปิดเผยผลการวิจัยล่าสุดในหัวข้อ “Resetting Normal: Defining the New Era of Work” ซึ่งสำรวจผลกระทบระยะสั้นและระยะยาวของโควิดที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานในสถานที่ทำงาน โดยการวิจัยภาคสนามได้จัดทำขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 สำหรับผู้ตอบแบบสอบถามประกอบด้วยพนักงานออฟฟิศ (อายุ 18-60 ปี) ในออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สเปน สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา รวม 8,000 คน

Alain Dehaze ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของอเด็คโก้ กรุ๊ป กล่าวว่า “โลกของการทำงานไม่มีวันกลับสู่ “ภาวะปกติ” แบบที่เราคุ้นเคยก่อนเกิดการระบาดครั้งใหญ่ การเปลี่ยนแปลงมากมายและกะทันหันในที่ทำงานส่งผลให้เทรนด์ใหม่อย่างการทำงานด้วยความยืดหยุ่น ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหาร และการเพิ่มทักษะใหม่ กลายเป็นรากฐานความสำเร็จขององค์กร ในขณะที่หลายประเทศเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤต พนักงานก็ได้โอกาส “รีเซ็ต” ธรรมเนียมปฏิบัติเดิมในสถานที่ทำงาน ซึ่งหลายอย่างแทบไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ผลวิจัยนี้ตอกย้ำว่าทัศนคติของพนักงานเปลี่ยนแปลงไป ทั้งยังเผยให้เห็นช่องว่างระหว่างความคาดหวังของพนักงานกับแนวทางปฏิบัติในตลาดแรงงาน ในขณะที่เราก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการทำงาน ถึงเวลาแล้วที่ต้องกำหนดบรรทัดฐานที่ดีกว่าเดิม เพื่อสร้างแรงงานแห่งอนาคตที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ทำงานอย่างมีประสิทธิผล รู้สึกมีส่วนร่วมและได้รับการยอมรับ”

ข้อมูลสำคัญจากการวิจัย

ผลวิจัยเผยให้เห็นว่า โลกของการทำงานพร้อมแล้วสำหรับการทำงานแบบ “ลูกผสม” โดยพนักงานสามในสี่ (74%) ที่ตอบแบบสำรวจระบุว่า การทำงานที่ออฟฟิศควบคู่กับการทำงานจากระยะไกลคือวิธีที่ดีที่สุด ขณะเดียวกัน ผู้ตอบแบบสำรวจทุกประเทศ ทุกวัย ทั้งที่มีลูกและไม่มีลูก ต่างต้องการแบ่งเวลาทำงานที่ออฟฟิศ (51%) และทำงานจากระยะไกล (49%) อย่างละครึ่ง ซึ่งผู้บริหารบริษัทก็เห็นด้วย โดยผู้บริหารเกือบแปดในสิบ (77%) เชื่อว่าธุรกิจจะได้รับประโยชน์จากการทำงานที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

อีกหนึ่งข้อมูลสำคัญได้ส่งสัญญาณถึงจุดจบของสัญญาจ้างที่ให้ค่าตอบแทนตามชั่วโมงทำงานและการทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยพนักงานกว่าสองในสาม (69%) ต้องการให้ดูที่ผลงานมากกว่า โดยมองว่าสัญญาจ้างควรให้ค่าตอบแทนตามผลงานมากกว่าชั่วโมงทำงาน ขณะที่ผู้บริหารจำนวนมาก (74%) ก็เห็นด้วยว่าควรมีการทบทวนชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์

การแพร่ระบาดของโควิดยังก่อให้เกิดความคาดหวังใหม่ต่อผู้บริหาร และความคาดหวังเหล่านี้จะเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหมู่ผู้บริหารยุคใหม่ โดยความฉลาดทางอารมณ์กลายเป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน แต่ช่องว่างด้านทักษะทางอารมณ์และสังคมยังคงมีให้เห็นอย่างชัดเจน โดยพนักงานกว่าหนึ่งในสี่ (28%) ระบุว่าสภาพจิตใจแย่ลงเพราะโควิด และมีเพียงหนึ่งในสิบที่มองว่าผู้บริหารมีความสามารถในการดูแลสุขภาพจิตของพนักงาน

นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามทุกประเทศยังต้องการเพิ่มทักษะของตนเอง โดยหกในสิบระบุว่าตนเองมีทักษะดิจิทัลดีขึ้นช่วงล็อกดาวน์ ขณะที่สองในสาม (69%) ต้องการเพิ่มทักษะดิจิทัลอีกหลังสถานการณ์คลี่คลาย ซึ่งหลายทักษะพนักงานมองว่ามีความสำคัญ เช่น การบริหารพนักงานจากระยะไกล (65%), ทักษะทางอารมณ์และสังคม (63%) และการคิดเชิงสร้างสรรค์ (55%)

สุดท้ายนี้ ผลวิจัยตอกย้ำถึงความสำคัญของการรักษาความเชื่อใจในโลกของการทำงานรูปแบบใหม่ การที่หลายบริษัทลุกขึ้นมารับมือกับความท้าทายเพื่อช่วยเหลือพนักงานในช่วงวิกฤต ส่งผลให้พนักงานมีความเชื่อใจในบริษัทมากขึ้น โดยพนักงาน 88% ระบุว่านายจ้างสามารถทำได้ตามที่คาดหวังหรือเหนือกว่าที่คาดหวังในส่วนของการรับมือกับความท้าทายจากโควิด แต่ความเชื่อใจที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ความคาดหวังเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ความจริงแล้วการทำงานเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกฝ่าย แต่พนักงาน 80% เชื่อว่านายจ้างต้องรับผิดชอบในการสร้างโลกของการทำงานที่ดีกว่าเดิมหลังวิกฤตโควิดและสร้างบรรทัดฐานใหม่ ขณะที่ 73% มองว่าเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล ส่วน 72% เห็นว่าเป็นความรับผิดชอบของตัวบุคคล และ 63% เชื่อว่าเป็นความรับผิดชอบของสหภาพแรงงาน

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it

 

Comments

B
i
u
Quote
Code
List
List item
URL
Name *
Code   
ChronoComments by Joomla Professional Solutions
Submit Comment
 
 

Login

Forgot your password? Create an account
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday894
mod_vvisit_counterAll days894

We have: 892 guests online
Your IP: 216.73.216.244
Mozilla 5.0, 
Today: Jul 02, 2025

8208984