เอสซีจี โชว์ศักยภาพนวัตกรรม-เทคโนโลยี ฟื้นฟูหลังแผ่นดินไหว |
![]() |
![]() |
![]() |
Wednesday, 02 July 2025 23:16 | |
เอสซีจี นำโดย นายปรเมศวร์ นิสากรเสน ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ - การบริหารกลาง เอสซีจี เข้าร่วมเสวนาในงาน “MIT Disaster Management Conference: Building a More Resilient ASEAN through Technology, Innovation and Design” ณ วันแบงค็อก ฟอรัม โดยได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองในช่วง Industry Discussion หัวข้อ Building for a More Resilient Future ซึ่งนำเสนอการทำงานร่วมกันระหว่าง One Bangkok และเอสซีจี ที่ร่วมกันขับเคลื่อนธุรกิจที่พร้อมเตรียมรับมือกับภัยพิบัติธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เน้นการลดคาร์บอนจากการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นการยกระดับมาตรฐานงานวิศกรรมโครงสร้างของประเทศด้วยการประยุกต์เทคโนโลยีสำหรับการก่อสร้างต่างๆ และเป็นต้นแบบของการพัฒนาโครงการในประเทศไทยที่ต้องคำนึกถึงมาตรฐานความปลอดภัยและความยั่งยืนระยะยาว นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของกระบวนการบริหารจัดการภัยพิบัติทั้งก่อนและหลังเกิดเหตุ รวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อให้องค์กรพร้อมรับกับสถานการณ์ฉุกเฉินตลอดเวลา และสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับภายในงานยังมีการจัดบูธนิทรรศการร่วมนำเสนอนวัตกรรมคอนกรีตกำลังอัดสูง ซีแพค และเทคโนโลยี สำหรับงานซ่อม เสริมกำลัง จาก CPAC SB&M Lifetime Solution ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรญี่ปุ่น Shobond & Mitsui Infrastructure Maintenance Corporation หรือ SB&M ผู้เชี่ยวชาญด้านการซ่อมแซมเชิงลึกที่มีประสบการณ์กว่า 60 ปี ทั้งด้านเทคโนโลยี วัสดุศาสตร์ และการพัฒนานวัตกรรมซ่อมแซมโดยเฉพาะสำหรับสภาพแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียนแสดงถึงศักยภาพผู้นำด้านเทคโนโลยีคอนกรีตและความพร้อมในการเป็นผู้ให้บริการโซลูชันด้านการซ่อมแซมและบำรุงรักษาโครงสร้างแบบครบวงจรที่รองรับปัญหาด้านภัยพิบัติ ข้อมูลเพิ่มเติม นวัตกรรมด้านวัสดุซ่อมแซมโครงสร้าง เสริมกำลัง จาก CPAC SB&M Lifetime Solution LOW PRESSURE - INJECTION ใช้สำหรับซ่อมแซมรอยร้าวขนาดเล็กบนผิวคอนกรีต เพื่อป้องกันความชื้นไม่ให้เข้าไปทำอันตรายเหล็กเสริมภายในจนเป็นสนิมส่งผลให้เกิดความเสียหายมากขึ้นกว่าเดิมจนกระทั่งโครงสร้างสูญเสียความสามารถในการรับน้ำหนักซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ในที่สุด HB SHEET ใช้สำหรับติดที่ผิวของโครงสร้างคอนกรีต เพื่อป้องกันการร่วงหล่นของเศษคอนกรีตที่เสื่อมสภาพจากความชื้นและสารเคมีก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ เหมาะสำหรับสะพาน อุโมงค์ ทางลอด ท้องคาน และท้องพื้น SBQ MORTAR ใช้สำหรับงานซ่อมแซมรอยร้าวจนถึงความเสียหายขนาดใหญ่ของพื้นผิวทางและงานถนน วัสดุ มีประสิทธิภาพสูง สะดวก ใช้งานง่าย ใช้ระยะเวลาในการทำงานน้อย สามารถเปิดใช้งานได้อย่างรวดเร็ว DAMPING SYSTEM นวัตกรรมการเสริมกำลังเทคโนโลยีขั้นสูงจากประเทศญี่ปุ่น ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า “Damper” ในการลดแรงสั่นสะเทือน ช่วยป้องกันความเสียหายของโครงสร้างอาคาร
เทคโนโลยีคอนกรีตสมรรถนะสูง CPAC High Strength Concrete นวัตกรรมคอนกรีตกำลังอัดสูง ซีแพค สำหรับงานโครงสร้างอาคารสูง ถูกวิจัยและพัฒนาขึ้นให้มีความแข็งแกร่ง สามารถรับน้ำหนักงานโครงสร้างขนาดใหญ่ได้ เนื้อคอนกรีตมีความเรียบเนียนสม่ำเสมอ และ CPAC Low Heat Concrete คอนกรีตความร้อนต่ำสูตรพิเศษ รองรับกำลังอัดสูงถึง 600 ksc สำหรับงานฐานรากขนาดใหญ่ เพื่อให้คุณภาพโครงสร้างของอาคารสามารถรับน้ำหนักได้ตามที่ออกแบบและต้านทานกับภัยพิบัติต่างๆในปัจจุบันได้ดี ระบบโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูป ซีแพค เทคโนโลยีการก่อสร้าง ระบบ Precast Concrete System สำหรับบ้านพักอาศัย และอาคาร CPAC Precast Concrete System พัฒนา และออกแบบระบบรอยต่อโครงสร้างพรีแคส ให้สามารถทนต่อแรงแผ่นดินไหว โดยผ่านการรับรองจากสถาบัน AIT ว่าสามารถรับแรงแผ่นดินไหวได้อย่างแข็งแรง ปลอดภัย ระบบป้องกันการรั่วซึม จาก CPAC เป็นระบบ Double Protection ที่มีการใช้วัสดุอุดรอยต่อป้องกันถึง 2 ชั้น สำหรับระบบ Wet Joint ซึ่งเหมาะกับงานบ้านพักอาศัยที่ตัวแผ่นผนังจะฝัง Wireloop หรือวัสดุเชื่อมที่เป็นตัวGalvanized Steel ที่ออกแบบและผลิตตามมาตรฐานยุโรปซึ่งมีคุณสมบัติช่วยป้องกันการกัดกร่อนจากสนิมลดปัญหาการแตกหักเสียหายจากการงัดหรือดึงอุปกรณ์และสะดวกรวดเร็วในการติดตั้งหน้างาน หลังจากนั้นจะปิดทับด้วย CPAC Non-Shrink Grout และ CPAC Epoxhesive ตามลำดับ ส่วนระบบ Dry Joint ใช้กับงานอาคารจะออกแบบให้เป็นบางใบในส่วนหัวท้ายของแผ่น โดยด้านข้างแผ่นจะอุดรอยต่อด้วย Backing Rod และปิดทับอีกชั้นด้วย CPAC Modified Silicone แผ่นพื้นและรอยต่อของพรีคาสคอนกรีต SCG ได้รับการออกแบบและทดสอบแล้วว่าสามารถรับแรงแผ่นดินไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ ระบบโพสเทนชั่น ซีแพค เทคโนโลยีการก่อสร้าง ระบบพื้น Post – Tension ระบบพื้น CPAC Post-Tension สามารถรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว เพราะการทำพื้นโพสเทนชั่นจะก่อให้เกิดแผ่น diaphragm ในแนวระนาบ จึงช่วยกระจายแรงภายนอกที่มากระทำด้านข้างให้แผ่ขยายไปทั่วแผ่นพื้นของตัวอาคาร โดย CPACออกแบบพื้นโพสเทนชั่นให้รับการต้านทานการสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวตามมาตรฐานกฎกระทรวงปี2564 หรือ มยผ.1301/1302-61 พื้น Post-Tension สามารถลดความสูงของอาคารได้ เนื่องจากไม่ต้องมีคานทำให้ความสูงของแต่ละชั้นลดลงได้ตั้งแต่ 30-60 cm ดังนั้นอาคารที่ใช้พื้น Post-Tension จึงให้จำนวนชั้นและพื้นที่ใช้สอยมากกว่า ซึ่งจะให้ผลตอบแทนการลงทุนในที่ดินสูงกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอาคารที่ก่อสร้างในพื้นที่ที่มีการจำกัดความสูงของอาคาร ประโยชน์ด้านโครงสร้าง เนื่องจากแผ่นพื้นอยู่ภายใต้แรงอัดตลอดเวลาจึงทำให้ทนต่อการแตกร้าวได้ดี และในกรณีที่มี overload มากพื้นอาจเกิดรอยร้าวได้ แต่เมื่อเอาน้ำหนัก overload ออกรอยร้าวก็จะลดลงน้อยไป พื้น Post-Tension สามารถรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้มากกว่าพื้นปกติเพราะการทำพื้น Post-Tension จะก่อให้เกิดแผ่น Diaphragm ในแนวระนาบซึ่งช่วยกระจายแรงภายนอกที่มากระทำด้านข้าง ให้แผ่ขยายไปทั่วแผ่นพื้นของตัวอาคาร ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it
|
![]() | Today | 576 |
![]() | All days | 576 |
Comments