พันธบัตร ออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ... ผลต่อสภาพคล่องและ ดอกเบี้ยแบงก์ BY ศูนย์วิจัยเคแบงก์ |
![]() |
![]() |
![]() |
Wednesday, 09 June 2010 15:59 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ... ผลต่อสภาพคล่องและดอกเบี้ยแบงก์ ในช่วงระหว่างวันที่ 7-11 มิถุนายน 2553 กระทรวงการคลังมีกำหนดจะเสนอขายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ล็อตที่สอง (ล็อตแรกของปีนี้) ในวงเงิน 1 แสนล้านบาท อายุ 6 ปี โดยจ่ายอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดสูงสุดที่ร้อยละ 6 ในปีที่ 6 หรือให้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 4.17 ต่อปี (อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.54 ต่อปีหลังหักภาษี) ซึ่งนับว่าเป็นระดับผลตอบแทนที่ค่อนข้างจูงใจผู้ออม โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุเดียวกันที่อยู่ที่ร้อยละ 3.15 (8 มิ.ย.) และอัตราผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์เงินฝากพิเศษส่วนใหญ่ของธนาคารพาณิชย์ที่ยังมีระดับไม่สูงนักสอดคล้องกับระยะเวลาการออมที่สั้นกว่า เปรียบเทียบพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ล็อตแรก (กรกฎาคม 2552) กับล็อตที่สอง (มิถุนายน 2553)
ที่มา: กระทรวงการคลัง รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองเกี่ยวกับประเด็นการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งของกระทรวงการคลัง รวมถึงผลกระทบต่อสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ดังต่อไปนี้
นอกจากนี้ สภาพคล่องในงบดุลของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยยังคงอยู่ในระดับสูง เห็นได้จากข้อมูลล่าสุด ณ สิ้นเดือนเมษายน 2553 สินทรัพย์สภาพคล่อง (รวมเงินสด เงินลงทุนสุทธิในตลาดเงินระยะสั้น และเงินลงทุนสุทธิในหลักทรัพย์)1 ของ 14 ธนาคารพาณิชย์ไทย2 มีจำนวนสูงถึง 2.18 ล้านล้านบาท โดยแม้ว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2553 เงินให้สินเชื่อจะสามารถเติบโตในเกณฑ์ที่ดี ตามการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่ในช่วงเวลาดังกล่าว ธนาคารพาณิชย์ก็มีการบริหารสภาพคล่องด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝากพิเศษที่ให้ผลตอบแทนจูงใจออกมาเป็นระยะๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อ ตลอดจนเพื่อรักษาความสามารถทางการแข่งขันทั้งกับธนาคารพาณิชย์ด้วยกันเองและกับทางเลือกการออมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวม หุ้นกู้ และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต เป็นต้น ขณะที่ เมื่อมองไปในระยะข้างหน้า ธนาคารพาณิชย์ก็ยังอาจจะมีการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากพิเศษที่ให้ผลตอบแทนจูงใจเพิ่มเติมอีก ภาพการดำเนินธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ดังกล่าว ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ในท้ายที่สุดแล้ว การออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งของกระทรวงการคลังในครั้งนี้ คงมีผลกระทบในขอบเขตที่ค่อนข้างจำกัดต่อฐานะสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ ซึ่งก็น่าที่จะเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับที่เคยเกิดขึ้นในช่วงของการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งล็อตแรกของกระทรวงการคลัง รวมถึงพันธบัตรออมทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 ที่ผ่านมา ที่เงินฝากของธนาคารพาณิชย์สามารถกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ด้วยระยะเวลาที่ไม่นานหลังจากการออกพันธบัตรทั้งสองดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ทางการเมืองทยอยคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นตามลำดับ โดยที่ภาคส่วนต่างๆ สามารถเร่งดำเนินมาตรการและความช่วยเหลือในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นและเยียวยาผลกระทบต่อภาคธุรกิจและครัวเรือนให้ฟื้นคืนกลับมาได้เร็ว รวมไปถึงความเสี่ยงจากเศรษฐกิจต่างประเทศต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปีนี้อยู่ในขอบเขตที่จำกัด ก็มีโอกาสที่การขยายสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์จะสามารถฟื้นตัวกลับมาได้ด้วยจังหวะที่เร็วขึ้นกว่าที่เคยไว้เดิม ซึ่งย่อมจะมีส่วนในการช่วยระบายสภาพคล่องออกจากระบบธนาคารพาณิชย์ไทยได้บางส่วนหลังจากนี้ ความสามารถในการขยายสินเชื่อใหม่ และทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของทางการ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ปัจจัยสำคัญที่จะมีอิทธิพลต่อการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ นอกจากจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการขยายสินเชื่อในระยะถัดไป ก็คงจะอยู่ที่การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ ธปท.อีกด้วย ทั้งนี้ ในระยะหลัง ธปท.ส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นว่าอาจจะพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเข้าสู่ระดับที่เป็นปกติมากขึ้น จากระดับผ่อนคลายอย่างมากในปัจจุบันที่ร้อยละ 1.25 ถ้าความเสี่ยงทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศอยู่ภายใต้ขอบเขตที่ยอมรับได้ เนื่องจาก ธปท.มองว่าพื้นฐานเศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็ง และการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสแรก น่าจะเป็นแรงส่งสำหรับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยต่อไปในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งภายใต้แนวโน้มที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีโอกาสจะถูกปรับขึ้นในช่วงไตรมาส 3/2553 เป็นอย่างเร็วนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ก็น่าที่จะมีแนวโน้มอยู่ในจังหวะขาขึ้นเช่นเดียวกัน แม้ขนาดและจังหวะการปรับขึ้นของธนาคารพาณิชย์อาจจะยังต้องขึ้นอยู่กับกลไกการส่งผ่านนโยบาย ภาวะการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์ด้วยกันเอง รวมถึงการแข่งขันกับช่องทางการลงทุนอื่นๆ ก็ตาม
ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งของกระทรวงการคลัง วงเงิน 1 แสนล้านบาท ในระหว่างวันที่ 7-11 มิถุนายน 2553 น่าจะส่งผลให้ปริมาณสภาพคล่องลดลงเพียงในระยะสั้น เนื่องจากรัฐบาลคงจะนำปริมาณเงินที่ระดมได้ไปชำระคืนเงินกู้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ อันจะทำให้ปริมาณสภาพคล่องไหลกลับคืนสู่ระบบอีกครั้ง ขณะที่คาดว่าธนาคารพาณิชย์คงจะทยอยนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝากพิเศษ หรือโครงการส่งเสริมการขายพิเศษ เพื่อดึงเงินฝากและสภาพคล่องกลับมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่การปล่อยสินเชื่อยังคงมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ภายใต้สมมติฐานที่ความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจค่อยๆ ปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า คงจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการขยายสินเชื่อใหม่ของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ซึ่งล่าสุด ธปท.ก็ได้ส่งสัญญาณว่าอาจพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าว ถ้าความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการเมืองในประเทศและปัญหาเศรษฐกิจยุโรป คลายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่มองว่าพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่เข้มแข็งในไตรมาสแรกของปี น่าจะสามารถสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อไปได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ทั้งนี้ ภายใต้แนวโน้มที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีโอกาสจะถูกปรับขึ้นในช่วงไตรมาส 3/2553 เป็นอย่างเร็วนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ก็น่าที่จะมีแนวโน้มอยู่ในจังหวะขาขึ้นเช่นเดียวกัน แม้ขนาดและจังหวะการปรับขึ้นของธนาคารพาณิชย์อาจจะยังต้องขึ้นอยู่กับกลไกการส่งผ่านนโยบาย ภาวะการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์ด้วยกันเอง รวมถึงการแข่งขันกับช่องทางการลงทุนอื่นๆ ก็ตาม
|
![]() | Today | 1245 |
![]() | All days | 1245 |
Comments