Forgot your password? Create an account
  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
News

Stockwave Online กระแสหุ้นออนไลน์ หุ้น หลักทรัพย์ การเงิน ข่าวเศรษฐกิจ

Home Economic View ราคาสินค้าเกษตรครึ่งหลังของปี 2563...ให้ภาพแย่ลงจากแรงกดดันด้านอุปทานและผลของโควิด-19
ราคาสินค้าเกษตรครึ่งหลังของปี 2563...ให้ภาพแย่ลงจากแรงกดดันด้านอุปทานและผลของโควิด-19 PDF Print E-mail
Sunday, 07 June 2020 09:05

ประเด็นสำคัญ

           ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 สถานการณ์สินค้าเกษตรในภาพรวมจะยังประคองตัวไปได้ในกรอบจำกัด แม้จะต้องเผชิญกับปัจจัยฉุดรั้งทั้งภาวะภัยแล้งในฤดูที่รุนแรง (ม.ค.-เม.ย.) จนสร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าว มันสำปะหลัง และอ้อยเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ภาพรวมผลผลิตลดลงร้อยละ 2.9 (YoY) รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทิ่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่ในภาพรวมจะยังคงเห็นภาพของราคาสินค้าเกษตรที่ขยายตัวได้ราวร้อยละ 3.8 (YoY) และรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวได้ในกรอบจำกัดราวร้อยละ 1.4 (YoY)

           ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 สถานการณ์สินค้าเกษตรอาจให้ภาพที่แย่ลงเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี โดยในแง่ของราคาสินค้าเกษตรจะได้รับแรงกดดันเป็น Double Shock ทั้งในฝั่งของอุปทาน ที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมากจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตมากขึ้น และในฝั่งของอุปสงค์ที่ยังต้องเผชิญกับผลกระทบจากโควิด-19 ที่จะฉุดรั้งความต้องการสินค้าเกษตรจากไทย ทำให้คาดว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ราคาสินค้าเกษตรอาจหดตัวราวร้อยละ 4.5 (YoY) ผลผลิตอาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 (YoY) ส่งผลต่อรายได้เกษตรกรให้ต้องเผชิญความยากลำบากมากขึ้น โดยอาจหดตัวที่ร้อยละ 0.7 (YoY)

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ขณะนี้ประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการแล้วตั้งแต่ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 ตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา โดยจะเห็นว่ามีฝนตกในหลายพื้นที่ทั่วประเทศตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา ซึ่งได้บรรเทาสถานการณ์ความร้อนและความแห้งแล้งที่รุนแรงในช่วงเดือนมกราคม-เมษายนไปได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ผลจากภัยแล้งในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีผลกระทบต่อเนื่องถึงปริมาณน้ำในเขื่อนจนถึงปัจจุบันให้อยู่ในระดับต่ำ จนสร้างความเสียหายต่อผลผลิตพืชฤดูแล้งสำคัญอย่างข้าว มันสำปะหลัง และอ้อย

 

เมื่อผนวกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลกสูงถึง 1.7 ล้านคน และมียอดผู้เสียชีวิตทั่วโลกกว่า 0.1 ล้านคน นำมาซึ่งความเปราะบางต่อเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างมาก จึงยิ่งเป็นปัจจัยฉุดรั้งความต้องการสินค้าเกษตรของไทยจากต่างประเทศให้ลดลงโดยเฉพาะคู่ค้าหลักของไทยอย่างจีน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 สถานการณ์สินค้าเกษตรในภาพรวมจะยังประคองตัวไปได้ในกรอบจำกัด แม้จะต้องเผชิญกับปัจจัยฉุดรั้งทั้งภาวะภัยแล้งในฤดูที่รุนแรง (ม.ค.-เม.ย.) จนสร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าว มันสำปะหลัง และอ้อยเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ภาพรวมผลผลิตลดลงร้อยละ 2.9 (YoY) รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทิ่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่ในภาพรวมจะยังคงเห็นภาพของราคาสินค้าเกษตรที่ขยายตัวได้ราวร้อยละ 3.8 (YoY) และรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวได้ในกรอบจำกัดราวร้อยละ 1.4 (YoY)

•              มองต่อไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ตามการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ที่ประเมินว่า ตั้งแต่เดือนพ.ค.-ต.ค.อาจมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดปรากฏการณ์ลานีญากำลังอ่อน ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณฝนที่อาจตกมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี โดยเฉพาะในช่วงเดือนส.ค.-ก.ย.ที่อาจมีฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด และมีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อน 1-2 ลูกเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบน จะส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ อย่างไรก็ดี คาดว่า ปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศในช่วงฤดูฝนปีนี้จะน้อยกว่าค่าปกติราวร้อยละ 5.0 แต่จะมากกว่าปีก่อนที่น้อยกว่าค่าปกติราวร้อยละ 11.0 ทำให้ภาพรวมในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 สภาพอากาศของไทยจะเอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตรจากปริมาณน้ำฝนที่คาดว่าน่าจะอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลต่อภาพรวมผลผลิตทางการเกษตรที่อาจอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะข้าวนาปี

สำหรับปัจจัยฉุดรั้งสำคัญอย่างโควิด-19 ที่คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 น่าจะยังมีอยู่และสร้างความเปราะบางให้กับเศรษฐกิจโลกต่อเนื่องจากช่วงครึ่งปีแรก ตามการคาดการณ์ของ IMF ว่า โดวิด-19 จะฉุดภาพรวมเศรษฐกิจโลกในปี 2563 ให้เข้าสู่ภาวะถดถอยรุนแรงที่สุดในรอบศตวรรษ สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นวงกว้างทั่วโลก จนส่งผลต่อความต้องการบริโภคสินค้าโภคภัณฑ์ให้มีแนวโน้มลดลงได้

ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 สถานการณ์สินค้าเกษตรอาจให้ภาพที่แย่ลงเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี โดยในแง่ของราคาสินค้าเกษตรจะได้รับแรงกดดันเป็น Double Shock ทั้งในฝั่งของอุปทาน ที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมากจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตมากขึ้น และในฝั่งของอุปสงค์ที่ยังต้องเผชิญกับผลกระทบจากโควิด-19 ที่จะฉุดรั้งความต้องการสินค้าเกษตรจากไทย ทำให้คาดว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ราคาสินค้าเกษตรอาจหดตัวราวร้อยละ 4.5 (YoY) ผลผลิตอาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 (YoY) ส่งผลต่อรายได้เกษตรกรให้ต้องเผชิญความยากลำบากมากขึ้น โดยอาจหดตัวที่ร้อยละ 0.7 (YoY)

สรุป แนวโน้มภาพรวมสินค้าเกษตรของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 อาจให้ภาพที่แย่ลงเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี โดยราคาสินค้าเกษตรอาจได้รับแรงกดดันจากทั้งฝั่งของอุปทานที่ออกสู่ตลาดจำนวนมาก ด้วยสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตมากขึ้น และฝั่งของอุปสงค์ที่ซบเซาจากโควิด-19 ที่ยังมีอยู่ สร้างความเปราะบางต่อความต้องการซื้อสินค้าเกษตรจากต่างประเทศ ส่งผลฉุดรั้งต่อเนื่องไปถึงภาพรวมรายได้เกษตรกรในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ให้ต้องเผชิญความยากลำบากมากขึ้น สุดท้ายแล้ว คาดว่า ในภาพรวมทั้งปี 2563 รายได้เกษตรกรอาจขยายตัวได้ในกรอบที่จำกัดมากราวร้อยละ 0.7 (YoY) โดยมีปัจจัยหนุนจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 (YoY) และปัจจัยฉุดจากราคาที่ลดลงร้อยละ 0.3 (YoY)

ดังนั้น นับเป็นโจทย์ท้าทายของภาครัฐในการช่วยประคับประคองสถานการณ์ภาคเกษตรของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ผ่านการดำเนินงานด้านนโยบายการเกษตรระยะสั้นที่อาจต้องมีความต่อเนื่องจากโครงการเดิมที่ได้ดำเนินการไปแล้วในช่วงครึ่งปีแรก จะเป็นปัจจัยสำคัญในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ที่จะช่วยรักษาเสถียรภาพด้านราคาสินค้าเกษตร และช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น ซึ่งภาครัฐอาจต้องมุ่งเป้าไปที่การช่วยเหลือที่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในรายการยางพารา มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน ก่อนพืชรายการอื่นอย่างเร่งด่วน เนื่องจากเป็นกลุ่มพืชที่มีแนวโน้มราคาอยู่ในระดับน่าเป็นห่วง อีกทั้งยังมีจำนวนเกษตรกรจำนวนมาก จนอาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศได้ สำหรับในส่วนของภาคธุรกิจการเกษตรเอง อาจต้องปรับในระยะสั้นด้วยการขยายตลาดผ่านช่องทางการตลาดที่เพิ่มขึ้นอย่างการขายออนไลน์ จะทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคได้รับข้อมูลการผลิตได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว สามารถทำการซื้อขายสินค้าได้ทุกที่ทุกเวลา โดยผู้ผลิตสามารถแสดงให้เห็นผลผลิตต่างๆ ภายในฟาร์ม เพื่อให้ผู้บริโภคใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจสั่งซื้อได้ ซึ่งจะเป็นการขยายช่องทางการตลาดและทำให้การดำเนินธุรกิจราบรื่นยิ่งขึ้น อันจะเป็นแนวทางในการปรับตัวของสินค้าเกษตรไทยในระยะสั้น ท่ามกลางปัจจัยท้าทายที่ต้องเผชิญรอบด้าน

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it

 

Comments

avatar Jefferey
0
 
 
When someone writes an paragraph he/she keeps the thought of a user
in his/her brain that how a user can understand it.
Therefore that's why this article is great. Thanks!

my web page: iphone vs android [cdn.shopify.com]
Post Reply
B
i
u
Quote
Code
List
List item
URL
Name *
Code   
ChronoComments by Joomla Professional Solutions
Submit Comment
Cancel
avatar Fleta
0
 
 
Appreciate this post. Let me try it out.

My blog; videogame developer; www.notion.so,
Post Reply
B
i
u
Quote
Code
List
List item
URL
Name *
Code   
ChronoComments by Joomla Professional Solutions
Submit Comment
Cancel
B
i
u
Quote
Code
List
List item
URL
Name *
Code   
ChronoComments by Joomla Professional Solutions
Submit Comment
 
 

Login

Forgot your password? Create an account
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday21974
mod_vvisit_counterYesterday34804
mod_vvisit_counterAll days167349552

We have: 787 guests online
Your IP: 3.137.161.222
Mozilla 5.0, 
Today: Apr 20, 2024

4189600