เงินเฟ้อของไทย เดือนมีนาคม BY ธนาคารเอชเอสบีซี
|
|
|
|
Wednesday, 07 April 2010 15:41 |
อัตราเงินเฟ้อเดือนมีนาคมของไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (เทียบกับร้อยละ 3.7 ในเดือนกุมภาพันธ์)
สถานการณ์เงินเฟ้อ หากตัดปัจจัยของฤดูกาลออกไป อัตราเงินเฟ้อของไทยในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อน ซึ่งต่ำกว่าระดับร้อยละ 0.4 ของเดือนที่ผ่านมา และต่ำกว่าประมาณการของเอชเอสบีซี ราคาข้าวที่ตกลงอย่างต่อเนื่องและการแข็งค่าของเงินบาทยังเป็นปัจจัยที่กดดันภาวะเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปรับลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 3.7 ของเดือนที่แล้ว มาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 เป็นผลมาจากราคาสินค้าอาหารของเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งต่ำกว่าเดือนที่แล้วที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ผลที่ตามมาคือ ราคาสินค้าอาหารสดลดลงราวร้อยละ 1.4 ขณะที่ราคาพลังงานแกว่งตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากเดือนก่อนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่ไม่รวมอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากร้อยละ 0.3 ของเดือนก่อน เป็นร้อยละ 0.4 ในเดือนมีนาคม
ผลที่เกิดขึ้น ราคาน้ำมันดิบที่เริ่มทะยานสูงขึ้นอาจมีผลกดดันต่อราคาสินค้า แต่ชดเชยได้ด้วยอัตราการใช้กำลังการผลิตในประเทศที่ยังคงติดลบ กำลังการผลิตส่วนเกินในระบบ และการแข็งค่าของเงินบาทจะช่วยพยุงแรงกดดันของเงินเฟ้อ ราคาสินค้าที่ค่อนข้างต่ำที่เกิดขึ้นจะช่วยกระตุ้นการเติบโตเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในปี 2553 ซึ่งเป็นการเติบโตที่มีอัตราการบริโภคภายในประเทศเป็นปัจจัยสำคัญ
เอชเอสบีซี คาดว่ากนง.จะยังมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ตามเดิมในการประชุมวันที่ 21 เมษายน เนื่องจากตระหนักถึงความตึงเครียดทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง และผลกระทบต่อการเติบโตเศรษฐกิจ โดยมองว่ายังสามารถคอยดูอัตราเงินเฟ้อในระดับปัจจุบันได้ระยะหนึ่ง นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าประมาณการในช่วงร้อยละ 0.5-3.0
อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางมีแนวโน้มที่จะขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ซึ่งถือเป็นอัตราที่ต่ำสุดในภูมิภาค เอชเอสบีซี เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ในการประชุมของกนง. ในเดือนมิถุนายน
ประเด็นที่จับตา ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศเมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่าจะเริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากที่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายมานานเกือบปี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เอชเอสบีซี เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะยังไม่ขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมคณะกรรมการกนง. เดือนเมษายนนี้ แต่จะปรับขึ้นในเดือนมิถุนายน แทน โดยการปรับขึ้นราวร้อยละ 0.25 ในระยะเวลา 3 เดือน ไม่ได้เกิดจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เพิ่มขึ้นเป็นสาเหตุหลัก แต่จะส่งสัญญาณที่ส่อแววการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ ทำให้การพึ่งพามาตรการกระตุ้นของภาครัฐน้อยลง
|
Comments